ฮีต 8 บุญเข้าพรรษา

ความเป็นมาของภูมิปัญญา

ในสมัยก่อนยังไม่เจริญ การไปไหนมาไหนต้องเดินทางลำบาก พระสงฆ์จะต้องเดินทางด้วยเท้า เวลาพระสงฆ์จะเดินทางไปโปรดญาติโยม ก็จะต้องเดินลัดทุ่งนาของชาวบ้านในฤดูการทำนา ทำให้นาข้าวของชาวบ้านเสียหาย จึงให้พระสงฆ์จำพรรษาอยู่ในวัด ไม่ให้ออกนอกวัดภายในระยะเวลา 3 เดือน

ขั้นตอนการทำพิธี
ช่วงประกอบพิธีกรรม การเข้าพรรษาตามปกติเริ่มนับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี (หรือเดือน 8 หลัง ถ้ามีเดือน 8 สองหน) และสิ้นสุดลงในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หรือวันออกพรรษา ฤดูเข้าพรรษาชาวบ้านจะมีการเตรียมเทียนเพื่อไปถวายวัด รวมทั้งเครื่องปัจจัยต่างๆโดยเฉพาะเครื่องสำหรับให้แสงสว่าง โดยการนำเทียน ตระเกียงน้ำมัน ธูปเทียนไปถวาย และการนำถวายผ้าอาบน้ำฝนเพื่อใช้อาบน้ำช่วงฤดูฝน

ความเชื่อ
 - เพื่อความสบายใจ และเป็นสิริมงคล
 - มีความเชื่อในด้านประเพณีต่างๆ ที่สืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ

การเรียนรู้
เรียนรู้จากปู่ ย่า ตา ยาย บรรพบุรุษ เป็นประเพณีที่ทำสืบทอดกันมา ทำให้เกิดความเชื่อและศรัทธาในภูมิปัญญา

การถ่ายทอด
ถ่ายทอดให้กับลูกหลานและคนในครอบครัว โดยการปฏิบัติเป็นแบบอย่างให้แก่ลูกหลานได้สืบทอดต่อไปในอนาคต

ประโยชน์ภูมิปัญญาต่อการเรียนรู้

การอนุรักษ์และสืบสานประเพณี ฮีตสิบสองคองสิบสี่

พื้นที่โรงเรียน

ตชด. บ้านเทพภูเงิน

กลุ่มสาระการเรียนรู้

กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม,

ภาพประกอบ

ผู้รวบรวม : ผศ.พฤษมงคล จุลพูล,น.ส.ศิริกุล สารสม,น.ส.ขวัญชนก เอี่ยมศิริ,น.ส.ชญานิศฐ์ คงทัน วันที่รวบรวม : 2559-03-19




ข้อมูลปราชญ์


นายประเสริฐ เอี่ยมศรี
บ้านเทพภูเงิน

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

© 2016 | is.udru.ac.th All Right Reserved | สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี | login