บุญบั้งไฟ (บุญเดือนหก)

ความเป็นมาของภูมิปัญญา

เชื่อว่าบุญประเพณีนี้จะทำให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ของฟ้าฝนข้าวปลาอาหารพืชพรรณเจริญเติบโตงอกงามดีและนำมาซึ่งความสนุกสนาน เกิดความหวังในชีวิต เหมือนมีที่พึ่ง อยู่ใกล้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพราะมีความเชื่อมาจากเรื่องพญาแถน(เทวดาชาวอีสาน)ที่ดลบันดาลให้ความอุดมสมบูรณ์จึงมีการทำบุญบูชาพระญาแถน และบูชามเหศักดิ์หลักเมืองทุกปี เพราเชื่อว่าหากไม่ทำจะทำให้ฝนตกไม่ตามฤดูการ เกิดโรคระบาดต่างๆได้

ขั้นตอนการทำพิธี
ช่วงประกอบพิธีกรรม ระหว่างเดือนเมษายน - มิถุนายน ของทุกปี (แล้วแต่พื้นที่) เมื่อถึงช่วงทำนาก็จะทำบุญบั้งไฟ จุดบั้งไฟบอกกล่าวให้ทำฝนตก ชาวอีสานจึงมีการทำประเพณีนี้สืบต่อกันมาจนปัจจุบัน เมื่อถึงช่วงเดือนหกก็จะมีการทำบุญนี้เป็นประจำโดยทำร่วมกับหมู่บ้านใกล้เคียงให้ทำบั้งไฟมาจุดร่วมกันโดยเมื่อมีการทำบุญจะแบ่งเป็นสองวันคือวันโฮม ที่มีการแห่บั้งไฟประดับประดาสวยงามเป็นรูปต่างๆและมีการละเล่นที่เชื่อว่ายิ่งเล่นสกปรก ลามก ยิ่งจะทำให้ฝนฟ้าอุดมสมบูรณ์เท่านั้น วันที่2 เป็นวันจุด ซึ่งก่อนจุดจะมีการทำการจุดบั้งไฟเพื่อเสี่ยงทายหรือบูชาพญาแถน เทพารักษ์ก่อนเสร็จแล้วจึงจุดบั้งไฟใหญ่ และมีการจัดการแข่งขัน ชิงรางวัลและเล่นการพนัน

ความเชื่อ
เชื่อว่าบุญประเพณีนี้จะทำให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ของฟ้าฝนข้าวปลาอาหารพืชพรรณเจริญเติบโตงอกงามดีและนำมาซึ่งความสนุกสนาน เกิดความหวังในชีวิต เหมือนมีที่พึ่ง อยู่ใกล้สิ่งศักดิ์สิทธิ์

การเรียนรู้
เรียนรู้มาจากบรรพบุรุษ โดยใช้วิธี สังเกต จดจำ และนำมาปฎิบัติตาม ใช้เวลาเรียนรู้มาตั้งแต่เด็กๆ การเรียนรู้รี้ทำให้ได้รู้จักประเพณีของไทยที่สืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ

การถ่ายทอด
ถ่ายทอดให้กับลูกหลานและคนในครอบครัว โดยการปฏิบัติเป็นแบบอย่างให้แก่ลูกหลานได้สืบทอดต่อไปในอนาคต

ประโยชน์ภูมิปัญญาต่อการเรียนรู้

การอนุรักษ์และสืบสานประเพณี ฮีตสิบสองคองสิบสี่

พื้นที่โรงเรียน

ตชด. บ้านเทพภูเงิน

กลุ่มสาระการเรียนรู้

กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม,

ภาพประกอบ

ผู้รวบรวม : ผศ.พฤษมงคล จุลพูล,น.ส.ศิริกุล สารสม,น.ส.ขวัญชนก เอี่ยมศิริ,น.ส.ชญานิศฐ์ คงทัน วันที่รวบรวม : 2559-03-19




ข้อมูลปราชญ์


นายประเสริฐ เอี่ยมศรี
บ้านเทพภูเงิน

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

© 2016 | is.udru.ac.th All Right Reserved | สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี | login