บุญเผวสหรือบุญมหาชาติ (เดือนสี่)

ความเป็นมาของภูมิปัญญา

มหาชาติ มี 13 กัณฑ์ จะนิยมบวชพระใหม่ในเดือนนี้ เพราะเชื่อกันว่าจะได้กุศลแรง

ขั้นตอนการทำพิธี
ช่วงประกอบพิธีกรรม ปีละ ๑ ครั้ง ระหว่างเดือน ๓ เดือน ๔ ไปจนถึงกลางเดือน ๕ ชาวบ้านจะไปรวมกันที่วัดจัดสถานที่ ที่พัก ตกแต่งดอกไม้ในศาลา พวงมาลัย ธงทิว มีการทำหมากพันคำ เมี่ยงพันคำ เทียนธูป มีดดาบ อย่างละพันและข้าวตอกดอกไม้ไว้บูชาคาถาพัน ประกอบด้วย ดอกบัว กางของ ผักตบชวาอย่างละพันดอกธงพันผืนกระดาษสี ขึงด้ายสายสิญจน์ ตั้งหม้อน้ำมนต์ ขันหมากเบ็งแปดอัน โอ่งน้ำ 4 โอ่งตั้งสี่มุมธรรมาสน์ในโองมีจอกแหน ดอกไม้ชนิดต่างๆและใบบัวปั้นรูปสัตว์ต่างไว้ใต้ธรรมาสน์ใหญ่ 8 อัน ปักรอบธรรมาสน์นอกศาลาทั้งแปดทิศเพื่อหมายเขตปลอดภัยป้องกันมารทั้งหลาย ตามเสามีที่ใส่ข้าวพันกองศาลามีหอพระอุปคต คือ บาตรกระโถน กาน้ำ ร่ม สบงจีวร ถวายพระอุปคต ที่ต้องจัดก่อนวันงาน

ความเชื่อ
พื้นฐานความเชื่อคติเดิมชาวอีสาน ทำให้มีความสงบสุขร่มเย็น ถือเป็นธรรมเนียมประเพณีมาแต่โบราณ ทำสืบทอดกันมาจากบรรพบุรุษ

การเรียนรู้
เรียนรู้มาจากบรรพบุรุษ โดยใช้วิธี สังเกต จดจำ และนำมาปฎิบัติตาม ใช้เวลาเรียนรู้มาตั้งแต่เด็กๆ การเรียนรู้รี้ทำให้ได้รู้จักประเพณีของไทยที่สืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ

การถ่ายทอด
ถ่ายทอดให้กับลูกหลานและคนในครอบครัว โดยการปฏิบัติเป็นแบบอย่างให้แก่ลูกหลานได้สืบทอดต่อไปในอนาคต

ประโยชน์ภูมิปัญญาต่อการเรียนรู้

การอนุรักษ์และสืบสานประเพณี ฮีตสิบสองคองสิบสี่

พื้นที่โรงเรียน

ตชด. บ้านเทพภูเงิน

กลุ่มสาระการเรียนรู้

กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม,

ภาพประกอบ

ผู้รวบรวม : ผศ.พฤษมงคล จุลพูล,น.ส.ศิริกุล สารสม,น.ส.ขวัญชนก เอี่ยมศิริ,น.ส.ชญานิศฐ์ คงทัน วันที่รวบรวม : 2559-03-19




ข้อมูลปราชญ์


นายประเสริฐ เอี่ยมศรี
บ้านเทพภูเงิน

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

© 2016 | is.udru.ac.th All Right Reserved | สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี | login