บุญคูณลาน (เดือนยี่)

ความเป็นมาของภูมิปัญญา

เป็นประเพณีการทำบุญที่จัดขึ้นทุกเดือนอ้าย จะเน้นพิธีทางของผีและพราหมณ์ เพราะชาวบ้านจะเชื่อเรื่องภูตผีปีศาจ วิญญาณ เปรตเทวดาอารักษ์ต่างๆ พิธีกรรมส่วนใหญ่จึงวนเวียนอยู่กับเรื่องผีโดยมีพ่อกะจ้ำเป็นผู้นำทางพิธี และมีพระสงฆ์เข้ามามีส่วนร่วม มีพระเป็นผู้นำบ้างในบางพิธี มีความเชื่อว่า เดือนสองของทุกๆ ปี ชาวบ้านจะนำข้าวมารวมกันที่ศาลากลางบ้าน เพื่อที่จะให้พระสงฆ์สวดและพรมน้ำมนต์ เพื่อให้เป็นสิริมงคล และเชื่อกันว่า จะทำให้ข้าวนั้นอุดมสมบูรณ์

ขั้นตอนการทำพิธี
ช่วงประกอบพิธีกรรม 7 :00 – 9:00 (เช้า) นำข้าวขึ้นเล้า และนิมนต์พระมาสวด จากนั้นก็ถวายทานและภัตตาหาร

ความเชื่อ
ชาวนาเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จแล้ว จะหาบฟ่อนข้าวมารวมกันไว้ที่ลานนวดข้าว แล้วนำมาวางกองเรียงกันให้สูงขึ้นเรียก คูณลาน ชาวนาที่ทำนาได้ผลเมือต้องการจะทำบุญบำเพ็ญกุศลให้ทาน ก็จะสัดขึ้นที่ลานเป็นสถานที่ทำบุญทำทาน โดยมีญาติพี่น้องมาทำบุญ

การเรียนรู้
เรียนรู้มาจากบรรพบุรุษ โดยใช้วิธี สังเกต จดจำ และนำมาปฎิบัติตาม ใช้เวลาเรียนรู้มาตั้งแต่เด็กๆ การเรียนรู้รี้ทำให้ได้รู้จักประเพณีของไทยที่สืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ

การถ่ายทอด
ถ่ายทอดให้กับลูกหลานและคนในครอบครัว โดยการปฏิบัติเป็นแบบอย่างให้แก่ลูกหลานได้สืบทอดต่อไปในอนาคต

ประโยชน์ภูมิปัญญาต่อการเรียนรู้

การอนุรักษ์และสืบสานประเพณี ฮีตสิบสองคองสิบสี่

พื้นที่โรงเรียน

ตชด. บ้านเทพภูเงิน

กลุ่มสาระการเรียนรู้

กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม,

ภาพประกอบ

ผู้รวบรวม : ผศ.พฤษมงคล จุลพูล,น.ส.ศิริกุล สารสม,น.ส.ขวัญชนก เอี่ยมศิริ,น.ส.ชญานิศฐ์ คงทัน วันที่รวบรวม : 2559-03-19




ข้อมูลปราชญ์


นายประเสริฐ เอี่ยมศรี
บ้านเทพภูเงิน

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

© 2016 | is.udru.ac.th All Right Reserved | สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี | login