บุญเข้ากรรม (บุญเดือนอ้าย)

ความเป็นมาของภูมิปัญญา

เป็นประเพณีการทำบุญที่จัดขึ้นทุกเดือนอ้าย จะเน้นพิธีทางของผีและพราหมณ์ เพราะชาวบ้านจะเชื่อเรื่องภูตผีปีศาจ วิญญาณ เปรตเทวดาอารักษ์ต่างๆ พิธีกรรมส่วนใหญ่จึงวนเวียนอยู่กับเรื่องผีโดยมีพ่อกะจ้ำเป็นผู้นำทางพิธี และมีพระสงฆ์เข้ามามีส่วนร่วม มีพระเป็นผู้นำบ้างในบางพิธี

ขั้นตอนการทำพิธี
ช่วงประกอบพิธีกรรม 7 :00 – 9:00 (เช้า) การอยู่กรรมของพระจะต้องจำกัดที่อยู่เพื่อทรมานร่างกายให้หายจากกรรม เป็นการชำระจิตใจให้หายมัวหมอง เมื่อบวชแทนคุณมารดาแล้วจะต้องอยู่กรรมเพราะมารดาก็เคยอยู่กรรมเมื่อคลอดบุตร มีความเชื่อว่า มีพระรูปหนึ่งต้องอาบัติเพราะเอามือไปทำใบตระไคร้น้ำขาดแล้วไม่ได้แสดงตัวว่าต้องอาบัติเมื่อมรณะจึงไปเกิดเป็นนาค เพราะอาบัติที่เล็กน้อย ดังนั้นจึงมีพิธีการอยู่วาสกรรมเพื่อพ้นอาบัติ

ความเชื่อ
  - เพื่อความสบายใจและเป็นสิริมงคล
  - มีความเชื่อด้านประเพณีต่างๆ

การเรียนรู้
เรียนรู้มาจากบรรพบุรุษ โดยใช้วิธี สังเกต จดจำ และนำมาปฎิบัติตาม ใช้เวลาเรียนรู้มาตั้งแต่เด็กๆ การเรียนรู้ภูมิปัญญานี้ทำให้ได้รู้จักประเพณีของไทยที่สืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ

การถ่ายทอด
ถ่ายทอดให้กับลูกหลานและคนในครอบครัว โดยการปฏิบัติเป็นแบบอย่างให้แก่ลูกหลานได้สืบทอดต่อไปในอนาคต

ประโยชน์ภูมิปัญญาต่อการเรียนรู้

การอนุรักษ์และสืบสานประเพณี ฮีตสิบสองคองสิบสี่

พื้นที่โรงเรียน

ตชด. บ้านเทพภูเงิน

กลุ่มสาระการเรียนรู้

กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม,

ภาพประกอบ

ผู้รวบรวม : ผศ.พฤษมงคล จุลพูล,น.ส.ศิริกุล สารสม,น.ส.ขวัญชนก เอี่ยมศิริ,น.ส.ชญานิศฐ์ คงทัน วันที่รวบรวม : 2559-03-19




ข้อมูลปราชญ์


นายประเสริฐ เอี่ยมศรี
บ้านเทพภูเงิน

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

© 2016 | is.udru.ac.th All Right Reserved | สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี | login