พิธีสู่ขวัญ

ความเป็นมาของภูมิปัญญา

เกิดจากการที่ได้เห็นพิธีสู่ขวัญนี้มาตั้งแต่เด็ก แล้วเกิดความสนใจในพิธีกรรมนี้ เพราะพิธีกรรมนี้ประเพณีสำคัญอย่างหนึ่งของคนอีสาน ประเพณีสู่ขวัญทำกันแทบทุกโอกาส ทั้งในมูลเหตุแห่งความดีและไม่ดี

ขั้นตอนการทำพิธี
ก่อนทำพิธีกรรมบายศรีสู่ขวัญ ต้องทำพานบายศรีเพื่อเข้าพิธีกรรม พานบายศรีทำด้วยการนำใบกล้วยพับรอบๆ พาน ทำเป็นพานบายศรี นำดอกไม้มาประดับ มีด้ายผูกแขน ใช้ด้ายสายสินด้ายสายสิญจน์ พันรอบพาน ในพานบายศรีสิ่งประกอบที่อยู่ในพาน ประกอบด้วย ข้าวต้มมัด ไข่ต้ม ขนม กล้วย อ้อย เหล้าขาว ธูป เทียน อาหารคาวหวาน พอถึงพิธีกรรมบายศรีสู่ขวัญ ชาวบ้านที่ต้องการ สู่ขวัญจะไปเชิญ พ่อพราหมณ์ เป็นผู้ที่ทราบประเพณีสู่ขวัญเป็นที่นับถือของ ชาวบ้านในหมู่บ้านนั้น พ่อพราหมณ์นุ่งขาวห่มขาว เพื่อมาทำพิธีบายศรีสู่ขวัญ ชาวบ้านจะจัดเตรียมสถานที่จะทำพิธีกรรมบายศรีสู่ขวัญที่บ้านของตนเอง ก็จะให้หมอพราหมณ์ มาสวด หรือผูกข้อต่อแขน พรมน้ำมนต์รอบบ้าน ทำพิธีในบ้านเพื่อปัดเปาสิ่งไม่ดีออกจากบ้าน

วัสดุ/อุปกรณ์
 - พานบายศรี
 - ธูป
 - เทียน
 - ด้ายผูกแขน
 - ขันน้ำมนต์
 - อาหารคาวหวาน

ความเชื่อ

ทำให้ชีวิตการเป็นอยู่ดีขึ้น

การเรียนรู้
เรียนรู้มาจากตำรา หนังสือ พระสงฆ์ที่วัด และจากกการปฏิบัติ ใช้เวลาเรียนรู้ ตั้งแต่ อายุ 37 จนถึงปัจจุบัน ภูมิปัญญานี้เป็นการสร้างขวัญและกำลังใจแก่คน และเสริมศิริแก่บ้านเรือน

การถ่ายทอด
ถ่ายทอดโดยการปฏิบัติเขียนบันทึก และให้บุคคลที่สนใจเรียนรู้นำไปอ่าน

ประโยชน์ภูมิปัญญาต่อการเรียนรู้

พิธีกรรมสู่ขวัญ

พื้นที่โรงเรียน

ตชด. บ้านเทพภูเงิน

กลุ่มสาระการเรียนรู้

กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม,

ภาพประกอบ

ผู้รวบรวม : ผศ.พฤษมงคล จุลพูล,น.ส.ศิริกุล สารสม,น.ส.ขวัญชนก เอี่ยมศิริ,น.ส.ชญานิศฐ์ คงทัน วันที่รวบรวม : 2559-03-19




ข้อมูลปราชญ์


นายบุญถม สมโชค
บ้านเทพภูเงิน

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

© 2016 | is.udru.ac.th All Right Reserved | สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี | login