ปลาส้ม

ความเป็นมาของภูมิปัญญา

เริ่มจากตนเองมีความรู้เรื่องการทำปลาส้มมาก่อนอยู่แล้วจากมารดา จึงคิดอยากจะทำปลาส้มเพื่อถนอมอาหารเอาไว้ และประหยัดค่าใช้จ่ายในครอบครัว

ขั้นตอน/วิธีทำ
 1. นำปลามาถอดเกล็ดแล้วล้างน้ำให้สะอาด
 2. นำกะละมังมาให้น้ำสะอาดแล้วนำปลาลงไปแช่ไว้ ใส่เกลือลงไป ใช้เวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับปริมาณปลาที่ทำ
 3. หลังจากนั้นนำปลามาล้างน้ำสะอาด
 4. หุงข้าวเหนียวเอาไว้ ตำกระเทียมคลุกเคล้าใส่กับข้าวเหนียวที่เตรียมไว้
 5. นำข้าวเหนียวไปยัดใส่ตัวปลาให้เต็ม
 6. นำปลาไปหมักใส่ถุง แล้วจึงนำไปใส่ถังหรือปิ๊บ
 7. ใช้เวลาประมาณ 3-5 วัน จึงจะสามารถบริโภคได้ ใช้เวลาในการทำ 2 ชั่วโมง

วัสดุ/อุปกรณ์
 - ปลาสด
 - ถังหรือปิ๊บ
 - เกลือ
 - กระเทียม
 - ข้าวเหนียว
 - น้ำสะอาด
 - มีด
 - ถุงพลาสติก
 - กะละมัง

การเรียนรู้
เรียนรู้จากมารดา โดยมารดา ทำให้ดูเป็นตัวอย่าง แล้วตนจึงสังเกต และนำมาปฎิบัติตาม ใช้เวลาในการเรียนรู้เพียง 1 วัน การเรียนรู้ภูมิปัญญานี้ทำให้สร้างอาชีพเสริมให้กับตนเอง และสามารถถนอมอาหารไว้ทานได้

การถ่ายทอด
ถ่ายทอดให้ที่สนใจ โดยการสาธิตให้ดู แนะนำเทคนิค สูตรเฉพาะของตนเองให้

ประโยชน์ภูมิปัญญาต่อการเรียนรู้

วิธีการทำหน่อไม้ดอง และการแปรรูปเป็นอาหาร

พื้นที่โรงเรียน

ตชด. บ้านเทพภูเงิน

กลุ่มสาระการเรียนรู้

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์, กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี,

ภาพประกอบ

ผู้รวบรวม : ผศ.พฤษมงคล จุลพูล,น.ส.ปิยะนันท์ ใจรักษ์,น.ส.พันธิวา หัสเดชะ,นายณัฐวุฆิ ชำนาญศรี วันที่รวบรวม : 2559-03-19




ข้อมูลปราชญ์


นางแดง โคตรทา
บ้านเทพภูเงิน

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

© 2016 | is.udru.ac.th All Right Reserved | สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี | login