ปลูกแฝกอนุรักษ์ดิน

ความเป็นมาของภูมิปัญญา

หน่วยงานกรมป่าไม้ได้จัดทำโครงการมอบต้นกล้าพันธุ์ไม้ต่างๆ ให้กับทางวัดห้วยขุนโสม จากนั้นพระอาจารย์หลุ่นได้ประกาศประชาสัมพันธ์ให้ชาวบ้านที่มีความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมในการปลูกป่าในพื้นที่รอบบริเวณวัด เพื่อยึดดินให้คงที่และเป็นแนวกันไฟป่า ตนจึงมีความสนใจในการการร่วมกิจกรรมในครั้งนั้น เพราะเห็นเป็นกิจกรรมที่ดีเป็นประโยชน์ต่อตนเองและชาวบ้านเป็นอย่างมาก จึงได้เข้าร่วมกิจกรรมในการปลูกป่า เพื่อรักษาความชุ่มชื้นของดิน ทำให้ดินโปร่งและระบายอากาศของดินดี ป้องกันการพังทลายของไหล่ถนน และเพื่อการเกษตร

ขั้นตอน/วิธีการ
 1.เกี่ยวใบหญ้าแฝกแต่ละกอ ให้เหลือความยาวจากพื้นดิน 25 ซม.
 2.ใช้จอบแซะดินโดยรอบเพื่อเตรียมหลุมปลูก
 3.ใช้มีดคมตัดรากอีกครั้ง เพื่อสะดวกในการขนไปรวมกัน
 4.ใช้มีดผ่าแยกกอให้ออกเป็นต้นเดี่ยวๆ เอาใบแห้งออก
 5.สับรากหญ้าแฝกออกให้หมด เหลือแค่เหง้าเอาไว้
 6.ตัดใบออกให้เหลือความยาว 15 ซม. มันเป็นกำๆละ 50 หน่อ
 7.นำหญ้าแฝกที่มันเป็นกำไปแช่ในน้ำ
 8.แช่ท่วมเหง้ากล้าหญ้าแฝก เป็นเวลา 10 ชม.
 9.จากนั้นนำมาตั้งบนดินในที่ร่ม ประมาณ 1 วัน และนำไปปลูก ใช้เวลาในการทำ 1 วัน

วัสดุ/อุปกรณ์
 - ต้นหญ้าแฝก
 - จอบ
 - เสียม
 - มีด

ความเชื่อ
ทำให้หน้าดินมีความคงที่ไม่พังทลายได้ง่ายและเป็นแนวป้องกันไฟป่า

การเรียนรู้
เรียนรู้จากหน่วยงานของรัฐ โดยจากการสังเกต จดจำ และนำไปปฏิบัติ ใช้เวลาในการเรียนรู้ 1 วัน ภูมิปัญญานี้สามารถช่วยให้ทรัพยากรของป่าไม้มีความอุดมสมบูรณ์ ช่วยยึดหน้าดินให้คงที่ไม่ให้พังทลาย เป็นแนวป้องกันไฟป่าที่ดีและทำให้เกิดความสามัคคีของคนในชุมชน

การถ่ายทอด
ถ่ายทอดให้กับเพื่อนบ้าน และสมาชิกในครอบครัว โดยการบรรยาย บอกเล่า และปฏิบัติให้ดูเป็นตัวอย่าง

ประโยชน์ภูมิปัญญาต่อการเรียนรู้

วิธีการปลูกหญ้าแฝก และการอนุรักษ์ดิน

พื้นที่โรงเรียน

ตชด. บ้านเทพภูเงิน

กลุ่มสาระการเรียนรู้

กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม,

ภาพประกอบ

ผู้รวบรวม : ผศ.พฤษมงคล จุลพูล,น.ส.กวินนา ปานพิมพ์,น.ส.สุภาพร มูลมาตร,น.ส.อุษา มณีวงษ์ วันที่รวบรวม : 2559-03-19




ข้อมูลปราชญ์


เรื่องที่เกี่ยวข้อง

© 2016 | is.udru.ac.th All Right Reserved | สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี | login