นวดแผนไทย

ความเป็นมาของภูมิปัญญา

เริ่มเรียนรู้มาจากบรรพบุรุษ ได้ทดลองปฏิบัติในการนวดแพทย์แผนโบราณเกิดการชำนาญจึงได้ช่วยคนในชุมชนและครอบครัวของตนเอง

อาการ/การสังเกต
เส้นทับ , เส้นยืด , เส้นเกร็ง

วิธีการรักษา
 1.นอนหงาย เริ่มจากนวดปลายเท้าแล้วก็ฝ่าเท้าทั้งสองข้าง จากนั้นก็ค่อยนวดมาที่เข่า แล้วก็ขึ้นมาที่ต้นขา เปิดกระบังลม
 2.จากนั้นก็นวดไล่ไปตามขา นวดขาไขว้ทีละข้าง ฉีกขาไล่จากต้นขาด้านในขึ้นลง
 3.เอาศอกกดฝ่าเท้า นอนตะแคงข้าง นวดตรงตานกเอี้ยงไล่มาที่สะโพก ไล่ลงไปต้นขาแล้วนวดไปที่หลังตามกระดูกสันหลังเส้นเอ็น
 4.นอนคว่ำ ไขว้ขาสลับซ้ายขวา จากนั้นนอนหงายอีก บิดปลายเท้าไปด้านซ้ายขวา ทำสลับกัน ขาซ้ายกับขาขวา
 5.นอนตะแคงใช้เท้าเหยียบตรงสะโพก จากนั้นนวดแขน ยกแขนบิด หักข้อมือ หักนิ้ว
 6.ลุกขึ้นนั่งนวดหลังเริ่มตั้งแต่เอวขึ้นมานวดตามเส้น ไล่ตามกระดูกสันหลัง

สมุนไพรรักษา
 - เครือเขาแถบ
 - จีบแรด
 - กำลังเสือโคร่ง

ข้อปฏิบัติ/คำลำ

 - สัตว์ปีก
 - ของดอง

การเรียนรู้

เรียนรู้จากบรรพบุรุษ โดยการสังเกต จดจำ และทดลองฝึกปฎิบัติ ใช้เวลาเรียนรู้ 1 เดือน ภูมิปัญญานี้สามารถประหยัดค่าใช้จ่าย และช่วยเหลือครอบครัวจากอาการเมื่อยล้าตามร่างกายได้

การถ่ายทอด
ถ่ายทอดให้กับบุคคลที่สนใจ โดยการบอกเล่า สอนปฏิบัติ และลงมือทำให้ดูเป็นตัวอย่าง

ประโยชน์ภูมิปัญญาต่อการเรียนรู้

วิธีการนวดแผนโบราณ และการส่งเสริมสุขภาพ

พื้นที่โรงเรียน

ตชด. บ้านเทพภูเงิน

กลุ่มสาระการเรียนรู้

กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี,

ภาพประกอบ

ผู้รวบรวม : ผศ.พฤษมงคล จุลพูล,น.ส.ทักษพร ไชยนาม,น.ส.ศิริพร วระวงศ์,น.ส.ภารดี ศรีบัวน้อย วันที่รวบรวม : 2559-03-19




ข้อมูลปราชญ์


นายประเสริฐ เอี่ยมศรี
บ้านเทพภูเงิน

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

© 2016 | is.udru.ac.th All Right Reserved | สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี | login