ทอเสื่อ

ความเป็นมาของภูมิปัญญา

เริ่มจากเห็นเพื่อนบ้านในหมู่บ้านทอสื่อกันเป็นจำนวนมาก เลยคิดที่อยากจะทำเป็นอาชีพเสริมบ้าง เพื่อจะได้มีรายได้เข้าครอบครัว

ขั้นตอน/วิธีทำ
 1.นำไหลมากรีดเป็นเส้นไปตากแดด
 2.เมื่อแห้งแล้วนำมาย้อมสีตามต้องการ
 3.นำเชือกไนลอนหรือเชือกเอ็นขึงที่โฮงทอเสื่อให้เป็นเส้นตามตามโฮงและฟืม
 4.นำไหลสอดเข้ากับไม้สอดเพื่อที่จะสอดเข้ากับโฮงกับเสื่อ
 5.เมื่อสอดไหลเข้าไปแล้วผลักฟืมเข้าหาตัวเองให้ไหลแน่นติดกัน เป็นลายต่างๆ
 6.จากนั้นก็เป็นอันเสร็จใช้งานได้เลย ใช้เวลาการทำ 10- 15 วัน

วัสดุ/อุปกรณ์
 - โฮงทอเสื่อ กว้าง 1 เมตร ยาว 2 เมตร
 - ฟืมทอเสื่อ 1 เมตร
 - ไม้สอดไหล
 - เชือกเอ็น
 - มีด
 - กรรไกร
 - ไหล
 - น้ำ
 - นวด

การเรียนรู้
เรียนรู้จากเพื่อนบ้าน โดยจากการสังเกต สอบถาม และนำมาปฏิบัติ ใช้เวลาในการเรียนรู้ 7-15 วัน ภูมิปัญญานี้สามารถนำไปใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ และสร้างรายได้ให้กับครอบครัว

การถ่ายทอด

ถ่ายทอดให้กับลูกหลาน และผู้ที่มีความสนใจ สามารถอธิบาย แนะนำ และทำให้ดูเป็นแบบอย่างได้

ประโยชน์ภูมิปัญญาต่อการเรียนรู้

วิธีการทอเสื่อ การย้อมสี การปลูกและเก็บต้นกก

พื้นที่โรงเรียน

ตชด. บ้านเทพภูเงิน

กลุ่มสาระการเรียนรู้

กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี,

ภาพประกอบ

ผู้รวบรวม : ผศ.พฤษมงคล จุลพูล,น.ส.วันวิสา ทำมา,น.ส.ธิดารัตน์ ประทุมชัย,น.ส.ศิรภัสสร วรรณชัย วันที่รวบรวม : 2559-03-19




ข้อมูลปราชญ์


นางแจ้ง ลุคเชษฐ์
บ้านเทพภูเงิน

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

© 2016 | is.udru.ac.th All Right Reserved | สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี | login