ไม้กวาดดอกแขม

ความเป็นมาของภูมิปัญญา

เป็นความคิดริเริ่มของผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้าน เพราะว่าบริเวณพื้นที่ของหมู่บ้านส่วนใหญ่ทั้งภายในและภายนอกนั้นมีหญ้าชนิดหนึ่งเต็มไปหมด ชาวบ้านเรียกว่าดอกแขม (บางที่เรียกดอกแถม) จึงได้หาวิธีใช้ประโยชน์จนกระทั้งนำมาทำไม้กวาด

ขั้นตอน/วิธีทำ
 1.นำดอกหญ้ามาตากแดดให้แห้ง
 2.ใช้เชือกฟางหรือเชือกไนล่อนสอยเข้ากับเข็มเย็บกระสอบแล้วแทงเข้าตรง กลางมัดดอกหญ้า แล้วถักไปถักมา ใช้มีดตัดโคนรัดดอกหญ้าที่ถักแล้วให้เสมอเป็นระเบียบสวยงาม
 3.ใช้ด้ามไม้ไผ่รวกเสียบตรงกลางใช้ริบบิ้นเหนียวมัดรวมกัน แล้วตอกตะปู
 4.ใช้น้ำมันยางหรือชันผสมน้ำมันก๊าดทาโดยใช้แปรงจุ่มและทาบริเวณด้ามไม้กวาดปล่อยไว้ 20 นาทีก็สามารถนำไปใช้ประโยชนได้ ใช้เวลาการทำ 2 ชั่วโมงต่อ 1 อัน

วัสดุ/อุปกรณ์
 - ดอกแขม
 - ไม้ไผ่ ความยาวประมาณ 80 ซม.
 - เข็มเย็บกระสอบ
 - เชือกฟาง หรือ ริบบิ้นเหนียว
 - ตะปูขนาด 1 นิ้ว
 - น้ำมันยางหรือชันผสมน้ำมันก๊าด
 - แปรงสำหรับทาน้ำมันยาง

การเรียนรู้
เรียนรู้จากผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้าน เรียนรู้โดยจากสังเกตคนในหมู่บ้านและทดลองปฏิบัติและลองผิดลองถูกด้วยตนเอง ใช้เวลาในการเรียนรู้ 2 วัน ภูมิปัญญานี้เป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญา และใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในหมู่บ้านให้เกิดประโยชน์

การถ่ายทอด
ถ่ายทอดให้กับเพื่อนบ้าน และผู้ที่มีความสนใจ สามารถอธิบาย แนะนำ และทำให้ดูเป็นแบบอย่างได้

ประโยชน์ภูมิปัญญาต่อการเรียนรู้

วิธีการทำไม้กวาดดอกแขม และการเก็บเกี่ยวดอกแขม

พื้นที่โรงเรียน

ตชด. บ้านเทพภูเงิน

กลุ่มสาระการเรียนรู้

กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี,

ภาพประกอบ

ผู้รวบรวม : ผศ.พฤษมงคล จุลพูล,น.ส.จิราภรณ์ โพธิ์เย็น,น.ส.จีรนันท์ หารมน,น.ส.สุพรรษา ปัตภาวะโร วันที่รวบรวม : 2559-03-19




ข้อมูลปราชญ์


นางจินตนา สมโชค
บ้านเทพภูเงิน

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

© 2016 | is.udru.ac.th All Right Reserved | สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี | login