บายศรี

ความเป็นมาของภูมิปัญญา

เมื่อมีงานมงคล พิธีการทางศาสนาชาวบ้านก็จะร่วมมือกันทำบายศรี เพื่อประกอบพิธีต่างๆ ทั้งบายศรีสู่ขวัญนาค(งานบวช) และบายศรีสู่ขวัญวันแต่งงาน จึงมีการถ่ายทอดวิธีการทำจากรุ่นสู่รุ่น เพื่อรักษาวัฒนธรรมและประเพณีของหมู่บ้านไว้สืบต่อไป

ขั้นตอน/วิธีทำ
 1.กำหนดขนาดของบายศรี ช่วงห่างของแต่ละชั้น ห่างประมาณ 8 นิ้ว
 2.ทำตัวบายศรีเสร็จแล้วแช่น้ำ แล้วนำขึ้นสลัดน้ำ ใส่ไว้ในกะละมังคลุมด้วยผ้าขาวบาง
 3.การทำตัวรอง จีบใบตองด้านแข็งอยู่ทางขวามือด้านอ่อนอยู่ทางซ้ายมือ พับมาทางขวามือ 3 ทบ ให้เกินครึ่งไปทางขวามือทางด้านขวามือใช้ใบตองพับ 3 ทบซ้อนใบตองที่พับจากทางด้านซ้ายมือให้อยู่ตรงกลาง เมื่อพับได้เช่นนี้แล้ว 3 อัน ให้ห่อ 3 ชิ้นรวมกัน วิธีห่อห่อแบบห่อบายศรีจนครบ
 4.วิธีเข้าตัวบายศรี ให้เริ่มตั้งแต่ชั้นล่างก่อน และนำไปติดกับแป้นโฟมที่ให้ตัดไว้แล้ว นำบายศรีโดยใช้ลวดตัว U เสียบยึดให้แน่นจนครบรอบชั้นบนชั้นล่าง แล้วจึงติดตัวรองระหว่างช่องของบายศรีจนครบ
 5.คาดเอว ระหว่างชั้นบนและชั้นล่างของตัวบายศรีจะใช้กาบกล้วยจะต้องสลักลวดลาย และอาจตกแต่งด้วยบานไม่รู้โรยหรือดอกไม้อื่น
 6.เมื่อทำครบ 3 ชั้นแล้ว ชั้นบนสุดให้ใส่บายศรีปากชาม ใช้เวลาการทำ 2 สัปดาห์

วัสดุ/อุปกรณ์
 - ใบตอง
 - พาน
 - เข็มหมุด
 - ตะปูเข็ม
 - น้ำมันมะกอก
 - ดอกไม้สด
 - โฟม
 - กรรไกร
 - เม็กกับลูกเม็ก
 - ไม้ลูกชิ้น

การเรียนรู้
เรียนรู้จากคนในหมู่บ้านสอน เรียนรู้โดยการสังเกต สอบถาม และลงมือทำ ใช้เวลาในการเรียนรู้ 2 เดือน ภูมิปัญญานี้เป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญา และช่วยสืบทอดวัฒนธรรมของหมู่บ้าน

การถ่ายทอด

ถ่ายทอดให้กับเพื่อนบ้าน และผู้ที่มีความสนใจ สามารถอธิบาย แนะนำ และทำให้ดูเป็นแบบอย่างได้

ประโยชน์ภูมิปัญญาต่อการเรียนรู้

วิธีการทำบายศรี

พื้นที่โรงเรียน

ตชด. บ้านเทพภูเงิน

กลุ่มสาระการเรียนรู้

กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม,

ภาพประกอบ

ผู้รวบรวม : ผศ.พฤษมงคล จุลพูล,น.ส.จิราภรณ์ โพธิ์เย็น,น.ส.จีรนันท์ หารมน,น.ส.สุพรรษา ปัตภาวะโร วันที่รวบรวม : 2559-03-21




ข้อมูลปราชญ์


นางวิกานดา พลทอง
บ้านเทพภูเงิน

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

© 2016 | is.udru.ac.th All Right Reserved | สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี | login