แห

ความเป็นมาของภูมิปัญญา

เริ่มจากครอบครัวเป็นประกอบอาชีพทำไร่ ทำนา และหาปลาเพื่อมาประกอบอาหาร ตนเองจึงได้ศึกษาวิธีการถักแหมาจากพ่อ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือหาปลาและทำขายเป็นอาชีพเสริม ประหยัดค่าใช้จ่ายไม่ต้องซื้อ เพราะปัจจุบันนี้แหราคาแพงมาก

ขั้นตอน/วิธีทำ
เริ่มสานจากหัวเรียกว่า จอมแห ก่อจอมแล้วสานแหไปเรื่อยๆ ความกว้างหรือความยาวขึ้นอยู่กับผู้สานและความถี่หรือความห่างของแหขึ้นอยู่กับผู้สาน หากต้องการปลาตัวใหญ่ก็สานตาห่าง หากต้องการปลาตัวเล็กก็สานตาถี่ ใช้กีมและด้ายไนล่อนในการสาน หากสานเสร็จแล้วนำไปย้อมสี ให้แหมีความคงทนหรือสวยงาม เช่น เปลือกต้นประดู่ ลูกมะเกลือ เป็นต้น ใช้เวลาการทำ 4-5 เมตร ต่ออาทิตย์

วัสดุ/อุปกรณ์
 - ด้าย
 - กีม
 - ไม้ไผ่นำมาทำปาน

การเรียนรู้
เรียนรู้จากพ่อ เรียนรู้โดยการสังเกต สอบถาม และลงมือทำ ใช้เวลาในการเรียนรู้ 10 ปี ภูมิปัญญานี้สามารถนำมาประกอบอาชีพเสริมได้ และสร้างรายได้ให้กับตนเอง

การถ่ายทอด
ถ่ายทอดให้กับลูกหลาน สามารถทำให้ดูเป็นแบบอย่างและค่อยปฏิบัติลงมือทำ

ประโยชน์ภูมิปัญญาต่อการเรียนรู้

วิธีการสานแห

พื้นที่โรงเรียน

ตชด. บ้านเทพภูเงิน

กลุ่มสาระการเรียนรู้

กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี,

ภาพประกอบ

ผู้รวบรวม : ผศ.พฤษมงคล จุลพูล,น.ส.จิราภรณ์ โพธิ์เย็น,น.ส.จีรนันท์ หารมน,น.ส.สุพรรษา ปัตภาวะโร วันที่รวบรวม : 2559-03-21




ข้อมูลปราชญ์


นายสมาน สอนเต็ม
บ้านเทพภูเงิน

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

© 2016 | is.udru.ac.th All Right Reserved | สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี | login