แก้ปัญหาดินเค็ม

ความเป็นมาของภูมิปัญญา

เกิดจากชาวบ้านสูบน้ำนำไปใช้มากเกินไป ในที่นา และใช้ปุ๋ยเคมีในการทำนามากเกินไปจึงทำให้เกิดดินเค็ม ทำให้เกษตรกรทำนาหรือปลูกพืชไม่ได้ผลิตผลเท่าที่ควร จึงต้องมีปราชญ์หรือหมอดินมาช่วยแก้ปัญหาเรื่องดินเค็ม และตนเองได้เป็นตัวแทนไปอมรมระดับจังหวัด และได้รับแต่งตั้งเป็นนายกสมาคมอีสาน(เรื่องดิน)และได้มาแก้ปัญหาดินเค็มให้กับชาวบ้าน

ขั้นตอน/วิธีทำ
นำใบไม้แห้ง วัชพืช และปุ๋ยคอกไปหว่านในแปลงที่เป็นบริเวณของดินเค็ม แล้วไถกลบในบริเวณของดินเค็ม ใบไม้แห้งและปุ๋ยคอก และนำปอเทืองมาปลูกเพื่อพื้นฟูดินให้ดินหายเค็ม ไม่กำหนดระยะเวลาในการทำ

วัสดุ/อุปกรณ์
 - ใบไม้แห้ง
 - ปุ๋ยคอก
 - วัชพืช
 - ปอเทือง

การเรียนรู้
เรียนรู้มาจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ โดยอบรม ฝึกฝน และนำมาปฎิบัติ ใช้เวลาในการเรียนรู้ 5 ปี มิภูมิปัญญานี้สามารถช่วยลดปัญหาพื้นที่ดินเค็ม และลดรายจ่าย – เพิ่มรายได้ ใช้ปุ๋ยอินทรีย์แทนปุ๋ยเคมี

การถ่ายทอด
ถ่ายทอดให้ลูกหลาน ชาวบ้าน และบุคคลที่สนใจศึกษา โดยการลงไปพื้นที่มีปัญหาดินเค็ม ปฏิบัติให้ดูเป็นตัวอย่าง แล้วให้ทำตามที่ละขั้นตอน

ประโยชน์ภูมิปัญญาต่อการเรียนรู้

วิธีการแก้ปัญหาเรื่องดิน และการอนุรักษ์ดิน

พื้นที่โรงเรียน

ตชด. บ้านเทพภูเงิน

กลุ่มสาระการเรียนรู้

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์,

ภาพประกอบ

ผู้รวบรวม : ผศ.พฤษมงคล จุลพูล,น.ส.ศิริกุล สารสม,น.ส.ขวัญชนก เอี่ยมศิริ,น.ส.ชญานิศฐ์ คงทัน วันที่รวบรวม : 2559-03-20




ข้อมูลปราชญ์


นายภานุพงศ์ ภัทรคนงาม
บ้านเทพภูเงิน

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

© 2016 | is.udru.ac.th All Right Reserved | สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี | login