บุญกฐิน

ความเป็นมาของภูมิปัญญา

เป็นการนำผ้ากฐินไปวางไว้ต่อหน้าพระสงฆ์อย่างต่ำ 5 รูป แล้วให้พระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่งที่ได้รับมอบหมายจากคณะสงฆ์ให้เป็นผู้รับกฐิน

วิธีการ/พิธีกรรม
ช่วงเวลาในการประกอบพิธีกรรม เดือน 12 ของทุกๆปี ชาวบ้านจะทำบุญกฐินเตรียมองค์กฐินที่จำเป็นต้องมีก็ได้ ผ้าไตรจีวร หรือผ้าสามผืนคือ สบง จีวร และบริขารต่างๆ ที่จำเป็น ตอนบ่ายประมาณ 14-15 นาฬิกา จะมีการจัดขบวนแห่กองกฐินไปถวายพระที่วัด ชาวบ้านเดินขบวนแห่กันเป็นแถวยืดยาว มีการร้องรำทำเพลงไปด้วย ขณะองค์กฐินผ่านไปชาวบ้านจะมาคอยต้อนรับและนำปัจจัยมาร่วมบริจาคทาน บางครั้งก็ร่วมขบวนแห่ไปด้วย และถวายให้พระที่วัด

ความเชื่อ
ที่กลายเป็นประเพณีขึ้น ซึ่งมีความสำคัญต่อชาวอีสานมากที่ถือว่าเป็นให้อานิสงส์แก่ผู้ทำบุญอย่างมากเพราะจะได้ถวายจีวรให้แก่ภิกษุที่ครบไตรมาส

การเรียนรู้
เรียนรู้จากพ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ทำสืบทอดกันมา โดยวิธีการสังเกต และปฎิบัติตาม ใช้เวลาในการเรียนรู้ 3 เดือน การเรียนรู้ภูมิปัญญานี้ทำให้แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน คนกับธรรมชาติและคนกับสิ่งเหนือธรรมชาติ ทำให้เกิดความเชื่อและศรัทธาในภูมิปัญญาของตน

การถ่ายทอด
ถ่ายถอดให้กับชาวบ้าน และลูกหลาน โดยการปฏิบัติให้ดู

ประโยชน์ภูมิปัญญาต่อการเรียนรู้

การอนุรักษ์และสืบสานประเพณี ฮีตสิบสองคองสิบสี่

พื้นที่โรงเรียน

ตชด. บ้านนาชมภู

กลุ่มสาระการเรียนรู้

กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม,

ภาพประกอบ

ผู้รวบรวม : ผศ.พฤษมงคล จุลพูล,น.ส.ศิริกุล สารสม,น.ส.ขวัญชนก เอี่ยมศิริ,น.ส.ชญานิศฐ์ คงทัน วันที่รวบรวม : 2559-03-06




ข้อมูลปราชญ์


เรื่องที่เกี่ยวข้อง

© 2016 | is.udru.ac.th All Right Reserved | สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี | login