บุญข้าวสาก

ความเป็นมาของภูมิปัญญา

ทำตามบรรพบุรุษตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน

วิธีการ/พิธีกรรม
ช่วงเวลาในการประกอบพิธีกรรม เดือน 10 ของทุกๆปี เมื่อถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 จะมีการทำบุญตักบาตรที่วัด ถวายทานอุทิศส่วนกุศลให้ญาติผู้ล่วงลับ ตอนเพลจะทำเป็นสำรับพานอาหารถวายอีกหรือถวายสลากภัต และการจับสลาก ใบแรกมักเป็นสนใจแก่ชาวบ้านมาเพราะหากจับได้ของคนที่มีฐานะไม่ค่อยดีก็จะทำนายตามนั้นหากจับได้ผู้มีฐานะดีก็ทำนายว่าข้าวกล้าในนาดี อุดมสมบูรณ์ อยู่เย็นเป็นสุขหลังจากนี้ก็มีการฟังเทศน์ถวายฉลองข้าวสากและกรวดน้ำอุทิศกุศลก็เสร็จพิธี

ความเชื่อ
บุญข้างสากเป็นบุญที่ทำเพื่ออุทิศให้แก่ผู้ตายหรือเปรต โดยมีเวลาห่างจากบุญข้าวประดับดินเพียง 15 วันเป็นเวลาที่เปรตต้องกลับไปอยู่ที่ของตน และทุคนให้ความสำคัญกับบุญนี้มาก เพราเชื่อว่าผีบรรพบุรุษจะมีความหิว กำลังรอส่วนบุญจากงานนี้เมื่อถึงงานบุญจึงทำกันอย่างศรัทธา และพี่น้องแม้จะอยู่ห่างไกลก็ต้องกลับบ้านไปเยี่ยมเยียนกัน

การเรียนรู้
เรียนรู้จากพ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ทำสืบทอดกันมา โดยวิธีการสังเกต และปฎิบัติตาม ใช้เวลาในการเรียนรู้ 1 เดือน การเรียนรู้ภูมิปัญญานี้ทำให้แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน คนกับธรรมชาติและคนกับสิ่งเหนือธรรมชาติ ทำให้เกิดความเชื่อและศรัทธาในภูมิปัญญาของตน

การถ่ายทอด
ถ่ายถอดให้กับชาวบ้าน และลูกหลาน โดยการปฏิบัติให้ดู

ประโยชน์ภูมิปัญญาต่อการเรียนรู้

การอนุรักษ์และสืบสานประเพณี ฮีตสิบสองคองสิบสี่

พื้นที่โรงเรียน

ตชด. บ้านนาชมภู

กลุ่มสาระการเรียนรู้

กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม,

ภาพประกอบ

ผู้รวบรวม : ผศ.พฤษมงคล จุลพูล,น.ส.ศิริกุล สารสม,น.ส.ขวัญชนก เอี่ยมศิริ,น.ส.ชญานิศฐ์ คงทัน วันที่รวบรวม : 2559-03-06




ข้อมูลปราชญ์


เรื่องที่เกี่ยวข้อง

© 2016 | is.udru.ac.th All Right Reserved | สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี | login