บุญสงกรานต์ (บุญเดือนห้า)

ความเป็นมาของภูมิปัญญา

เป็นประเพณีขึ้นปีใหม่ของคนไทย จะมีพิธีทำบุญตักบาตร ตอนบ่ายก็จะอบน้ำหอม นำดอกไม้ธูปเทียนไปรวมกันที่วัด แล้วทำพิธีสรงน้ำพระแล้วนำน้ำที่ได้จากการสรงพระนั้นไปพรมหัวลูกหลาน เพื่อความอยู่ดีมีสุข

วิธีการ/พิธีกรรม
ช่วงเวลาในการประกอบพิธีกรรม กำหนดขึ้นในเดือน 5 มี 3 วัน ตั้งแต่ 13 วันมหาสงกรานต์ 14 วันที่ 15 วันสุดท้ายเป็นวันเถลิงศก มีพิธีการทำบุญตักบาตร ตอนบ่ายก็จะทำน้ำอบ หอมดอกไม้ธูปเทียนไปรวมกันที่วัด แล้วทำพิธีสรงน้ำพระแล้วนำน้ำที่ได้จากการสรงพระนั้นไปพรมหัวลูกหลานสัตว์เลี้ยงเพื่อความอยู่ดีมีสุขตามความเชื่อนอกจากนี้แล้วก็มีพิธีการสรงน้ำภิกษุสามเณร รดน้ำดำหัวคนเฒ่าคนแก่ เพื่อแสดงความเคารพและขอพร วันที่ 14 ก็จะเป็นวันหยุดที่ทุกคนต้องมาร่วมกันเล่นน้ำ การนำธงไปแห่และแขวนเพื่อบูชาพระรัตนตรัยเป็นเครื่องหมายของชัยชนะ วันที่ 15 มีการขนทรายเข้าวัดเพื่อต่ออายุชีวิตในการทำลูกเจดีย์รอบๆฐานเจดีย์และนึกถึงพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ แปดหมื่นสี่พันธรรมขันธ์และก็จะทำพิธีบวชพระสงฆ์ 5 รูปมาสวดพุทธมนต์และบวชองค์พระเจดีย์ทราย ซึ่งการก่อเจดีย์จะได้บุญตามความเชื่อแล้วยังทำให้พื้นที่ตรงนั้นของวัดสูงขึ้น

ความเชื่อ
 - เพื่อความสบายใจ และเป็นสิริมงคล
 - มีความเชื่อในด้านประเพณีต่างๆ ที่สืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ

การเรียนรู้
เรียนรู้จากพ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ทำสืบทอดกันมา โดยวิธีการสังเกต และปฎิบัติตาม ใช้เวลาในการเรียนรู้ 1 สัปดาห์ การเรียนรู้ภูมิปัญญานี้ทำให้แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน คนกับธรรมชาติและคนกับสิ่งเหนือธรรมชาติ ทำให้เกิดความเชื่อและศรัทธาในภูมิปัญญาของตน

การถ่ายทอด
ถ่ายถอดให้กับชาวบ้าน และลูกหลาน โดยการปฏิบัติให้ดู

ประโยชน์ภูมิปัญญาต่อการเรียนรู้

การอนุรักษ์และสืบสานประเพณี ฮีตสิบสองคองสิบสี่

พื้นที่โรงเรียน

ตชด. บ้านนาชมภู

กลุ่มสาระการเรียนรู้

กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม,

ภาพประกอบ

ผู้รวบรวม : ผศ.พฤษมงคล จุลพูล,น.ส.ศิริกุล สารสม,น.ส.ขวัญชนก เอี่ยมศิริ,น.ส.ชญานิศฐ์ คงทัน วันที่รวบรวม : 2559-03-06




ข้อมูลปราชญ์


เรื่องที่เกี่ยวข้อง

© 2016 | is.udru.ac.th All Right Reserved | สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี | login