บุญข้าวจี่ (เดือนสาม)

ความเป็นมาของภูมิปัญญา

การทำบุญข้าวจี่ในเดือนสามเป็นช่วงที่ชาวนาหมดภาระในการทำนาแล้วได้นำข้าวขึ้นเล้าจึง ร่วมทำบุญถวายพระ ทำข้าวปังจี่ถวายพระสงฆ์ นำไปใส่บาตรและถวายอาหารขอพร

วิธีการ/พิธีกรรม
ช่วงเวลาในการประกอบพิธีกรรม วันเพ็ญ เดือนสาม ของทุกปี จัดทำข้าวจี่ตั้งแต่เช้ามืดจากบ้านแล้วนำไปรวมกันเพื่อถวายพระสงฆ์ นิมนต์พระ 7-9 รูปหรือตามความเหมาะสม การทำบุญข้าวจี่เป็นวันใดก็ได้ในเดือนสาม ในหมู่บ้านจะมีการจัดเตรียมข้าวจี่แต่ตั้งแต่เช้ามืดวันนั้นเพื่อให้สุกทันใส่บาตร ปกติจะใส่ 7-9 ก้อนต่อครอบครัว

ความเชื่อ

ทำให้มีความสงบสุขร่มเย็น ถือเป็นธรรมเนียมประเพณีมาแต่โบราณ ทำสืบทอดกันมาจากบรรพบุรุษ

การเรียนรู้
 เรียนรู้จากพ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ทำสืบทอดกันมา โดยวิธีการสังเกต และปฎิบัติตาม ใช้เวลาในการเรียนรู้ 1 สัปดาห์ การเรียนรู้ภูมิปัญญานี้ทำให้แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน คนกับธรรมชาติและคนกับสิ่งเหนือธรรมชาติ ทำให้เกิดความเชื่อและศรัทธาในภูมิปัญญาของตน

การถ่ายทอด
ถ่ายถอดให้กับชาวบ้าน และลูกหลาน โดยการปฏิบัติให้ดู

ประโยชน์ภูมิปัญญาต่อการเรียนรู้

การอนุรักษ์และสืบสานประเพณี ฮีตสิบสองคองสิบสี่

พื้นที่โรงเรียน

ตชด. บ้านนาชมภู

กลุ่มสาระการเรียนรู้

กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม,

ภาพประกอบ

ผู้รวบรวม : ผศ.พฤษมงคล จุลพูล,น.ส.ศิริกุล สารสม,น.ส.ขวัญชนก เอี่ยมศิริ,น.ส.ชญานิศฐ์ คงทัน วันที่รวบรวม : 2559-03-06




ข้อมูลปราชญ์


เรื่องที่เกี่ยวข้อง

© 2016 | is.udru.ac.th All Right Reserved | สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี | login