บุญคูณลาน (เดือนยี่)

ความเป็นมาของภูมิปัญญา

สมัยก่อนมีความเชื่อว่า เดือนสองของทุกๆ ปี ชาวบ้านจะนำข้าวมารวมกันที่ศาลากลางบ้าน เพื่อที่จะให้พระสงฆ์สวดและพรมน้ำมนต์ เพื่อให้เป็นสิริมงคล และเชื่อกันว่า จะทำให้ข้าวนั้นอุดมสมบูรณ์

วิธีการ/พิธีกรรม
ช่วงเวลาในการประกอบพิธีกรรม 7 :00 – 9:00 (เช้า) ประกอบพิธีในเดือน 2 ของทุกปี นำข้าวขึ้นเล้า และนิมนต์พระมาสวด จากนั้นก็ถวายทานและภัตตาหาร

ความเชื่อ
มีความเชื่อ คือ ชาวนาเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จแล้ว จะหาบฟ่อนข้าวมารวมกันไว้ที่ลานนวดข้าว แล้วนำมาวางกองเรียงกันให้สูงขึ้นจึงเรียก คูณลาน ชาวนาที่ทำนาได้ผลเมือต้องการจะทำบุญบำเพ็ญกุศลให้ทาน ก็จะสัดขึ้นที่ลานเป็นสถานที่ทำบุญทำทาน โดยมีญาติพี่น้องมาทำบุญ และนิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์

การเรียนรู้

เรียนรู้จากพ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ทำสืบทอดกันมา โดยวิธีการสังเกต และปฎิบัติตาม ใช้เวลาในการเรียนรู้ 1 เดือน การเรียนรู้ภูมิปัญญานี้ทำให้แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน คนกับธรรมชาติและคนกับสิ่งเหนือธรรมชาติ ทำให้เกิดความเชื่อและศรัทธาในภูมิปัญญาของตน

การถ่ายทอด
ถ่ายถอดให้กับชาวบ้าน และลูกหลาน โดยการปฏิบัติให้ดู

ประโยชน์ภูมิปัญญาต่อการเรียนรู้

การอนุรักษ์และสืบสานประเพณี ฮีตสิบสองคองสิบสี่

พื้นที่โรงเรียน

ตชด. บ้านนาชมภู

กลุ่มสาระการเรียนรู้

กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม,

ภาพประกอบ

ผู้รวบรวม : ผศ.พฤษมงคล จุลพูล,น.ส.ศิริกุล สารสม,น.ส.ขวัญชนก เอี่ยมศิริ,น.ส.ชญานิศฐ์ คงทัน วันที่รวบรวม : 2559-03-06




ข้อมูลปราชญ์


เรื่องที่เกี่ยวข้อง

© 2016 | is.udru.ac.th All Right Reserved | สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี | login