บุญเข้ากรรม (บุญเดือนอ้าย)

ความเป็นมาของภูมิปัญญา

เป็นประเพณีการทำบุญที่มีประจำเดือนของชาวอีสาน ประสมประสานระหว่างแนวคิดของพระพุทธเจ้า พราหมณ์และผี ก่อนที่ศาสนาพุทธเข้าสู่ไทย โดยเฉพาะดินแดนอีสานนั้นประเพณีตามฮีตคลองเดือนต่างๆมีมานาน สมัยก่อนจะเน้นพิธีทางของผีและพราหมณ์มากกว่า เพราะเชื่อเรื่องภูตผีปีศาจ วิญญาณ เปรตเทวดาอารักษ์ต่างๆ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ภูตผีที่มองไม่เห็นตัวจะมีอิทธิพลต่อชีวิตตั้งแต่เกิดจนตาย พิธีกรรมส่วนใหญ่จึงวนเวียนอยู่กับเรื่องผีโดยมีพ่อกะจ้ำเป็นผู้นำทางพิธี

วิธีการ/พิธีกรรม
ช่วงเวลาในการประกอบพิธีกรรม เดือน 1 ของทุกปี ขั้นตอนการอยู่กรรมของพระที่ต้องจำกัดที่อยู่เพื่อทรมานร่างกายให้หายจากกรรม เป็นการชำระจิตใจให้หายมัวหมองบางแห่งถือว่า เมื่อบวชแทนคุณมารดาได้จะต้องอยู่กรรมเพราะมารดาก็เคยอยู่กรรมเมื่อคลอดบุตร โดยเชื่อว่า มีพระรูปหนึ่งได้ต้องอาบัติเพียงเล็กน้อยที่เอามือไปทำใบตระไคร้น้ำขาดแล้วไม่ได้แสดงตนว่าต้องอาบัติเมื่อมรณะจึงเกิดเป็นนาค เพียงเพราะอาบัติที่เล็กน้อย ดังนั้นจึงมีพิธีการอยู่ วาสกรรมเพื่อพ้นอาบัติ

ความเชื่อ

 - เพื่อความสบายใจ และเป็นสิริมงคล
 - มีความเชื่อในด้านประเพณีต่างๆ ที่สืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ

การเรียนรู้
เรียนรู้จากพ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ทำสืบทอดกันมา โดยวิธีการสังเกต และปฎิบัติตาม ใช้เวลาใน 2 เดือน การเรียนรู้ภูมิปัญญานี้ทำให้แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน คนกับธรรมชาติและคนกับสิ่งเหนือธรรมชาติ ทำให้เกิดความเชื่อและศรัทธาในภูมิปัญญาของตน

การถ่ายทอด

ถ่ายถอดให้กับชาวบ้าน และลูกหลาน โดยการปฏิบัติให้ดู

ประโยชน์ภูมิปัญญาต่อการเรียนรู้

การอนุรักษ์และสืบสานประเพณี ฮีตสิบสองคองสิบสี่

พื้นที่โรงเรียน

ตชด. บ้านนาชมภู

กลุ่มสาระการเรียนรู้

กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม,

ภาพประกอบ

ผู้รวบรวม : ผศ.พฤษมงคล จุลพูล,น.ส.ศิริกุล สารสม,น.ส.ขวัญชนก เอี่ยมศิริ,น.ส.ชญานิศฐ์ คงทัน วันที่รวบรวม : 2559-03-06




ข้อมูลปราชญ์


เรื่องที่เกี่ยวข้อง

© 2016 | is.udru.ac.th All Right Reserved | สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี | login