ฝายชะลอน้ำ

ความเป็นมาของภูมิปัญญา

แต่ก่อนหมู่บ้านมีแต่ป่าดง ชาวบ้านก็เลยถางป่าออกแล้วทำให้พื้นที่แห้งและมีไฟป่า ต่อมาเมื่อปี 2548 ได้มีการอบรมของกลุ่ม ปตท. จึงทำให้เกิดแรงบันดาลใจที่จะทำการอนุรักษ์น้ำ

ขั้นตอน/วิธีการ
 1.สำรวจพื้นป่าและทางน้ำ
 2.ถ่ายรูปภาพมาประเมินการ โดยการวางแผนก่อนลง
 3.เก็บสิ่งที่กีดขวางออกจากทางน้ำ
 4.ผสมปูนแล้วทำคันคูขึ้น
 5.เทปูนลงพื้นที่จะชะลอน้ำเพื่อไม่ให้ดินทรุดลงมา
 6.นำไม้ไผ่มาตีล้อมฝายทั้งหมดเพื่อไม่ให้น้ำกัดเซาะฝั่ง (ขนาดของไม้แล้วแต่ขนาดของฝายน้ำ) ใช้เวลาในการทำ 1 วัน

วัสดุ/อุปกรณ์
 - ปูนประมาณ 10 ถุง
 - ทราย
 - หิน
 - ไม้ไผ่
 - จอบหรือพลั่ว
 - ถังผสมปูน
 - เกรียงเหล็ก

ความเชื่อ
น้ำมีประโยชน์สูงสุดในการดำรงชีพของชาวบ้าน

การเรียนรู้
เรียนรู้จากการอบรมของกลุ่ม ปตท. โดยดูจากคู่มือ ดูจากวิดิทัศน์ ใช้เวลาในการเรียนรู้ 1 วัน การศึกษาภูมิปัญญานี้ทำให้รู้คุณค่าของน้ำ ใช้น้ำได้อย่างถูกวิธี

การถ่ายทอด

ถ่ายทอดให้ลูกหลาน ชาวบ้าน โดยบอกเล่าบรรยาย พร้อมลงมือปฏิบัติ

ประโยชน์ภูมิปัญญาต่อการเรียนรู้

การทำฝายชะลอน้ำ และการอนุรักษ์แหล่งน้ำและทรัพยากรธรรมชาติ

พื้นที่โรงเรียน

ตชด. บ้านนาชมภู

กลุ่มสาระการเรียนรู้

กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม,

ภาพประกอบ

ผู้รวบรวม : ผศ.พฤษมงคล จุลพูล,น.ส.กวินนา ปานพิมพ์,น.ส.สุภาพร มูลมาตร,น.ส.อุษา มณีวงษ์ วันที่รวบรวม : 2559-03-06




ข้อมูลปราชญ์


เรื่องที่เกี่ยวข้อง

© 2016 | is.udru.ac.th All Right Reserved | สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี | login