อนุรักษ์ดิน

ความเป็นมาของภูมิปัญญา

เริ่มทำการเกษตรมานานมาก ในการปลูกพืชผักการเกษตรบางครั้งมีปัญหาในเรื่องของดิน จึงมีความคิดที่จะอนุรักษ์แผ่นดินเพื่อไม่ให้ดินเสื่อมสภาพ โดยการปลูกต้นไม้เพื่อไว้ปรับสภาพดิน

ขั้นตอน/วิธีการ
 1.สำรวจพื้นที่
 2.เพิ่มอินทรียวัตถุ เศษเหลือจากพืช เช่น หญ้าแห้ง กิ่งไม้ใบไม้ และปุ๋ยพืชสด
 3.การเพิ่มปุ๋ยพืชสด โดยการไถพรวนพืชสดๆ ทับลงไปในดิน ซึ่งเท่ากับเป็นการเพิ่มแร่ธาตุจากพืชสดเพื่อเป็นอาหารแก่ดิน
 4.การใช้ซากและเศษเหลือจากสัตว์ ซึ่งประกอบด้วยธาตุต่างๆ ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช
 5.การใช้ระบบการปลูกพืชหมุนเวียนเพื่อช่วยให้ดินคงความอุดมสมบูรณ์อยู่ได้ ใช้เวลาในการทำ 2 เดือน

วัสดุ/อุปกรณ์
 - รถไถ
 - ต้นไม้ยืนต้น
 - ปุ๋ยคอก

ความเชื่อ
ระบบนิเวศดีขึ้น และมีความอุดมสมบูรณ์ไปยังคนรุ่งหลัง

การเรียนรู้
เรียนรู้จากเจ้าหน้ากรมอนุรักษ์ดิน โดยการอบรม และนำมาปฏิบัติ ใช้เวลาในการเรียนรู้ 1 วัน การศึกษาภูมิปัญญานี้ทำให้ใช้ประโยชน์จากที่ดินให้เหมาะสมกับกิจกรรมที่จะทำ เช่น การเพาะปลูก การเลี้ยงสัตว์ ที่อยู่อาศัย และต้องได้สัดส่วนสมดุลเหมาะสมกันเพื่อรักษาระบบนิเวศตาม ธรรมชาติและคุณภาพ ของสิ่งแวดล้อม

การถ่ายทอด
ถ่ายทอดให้คนในชุมชน โดยบอกเล่าบรรยาย พร้อมลงมือปฏิบัติ

ประโยชน์ภูมิปัญญาต่อการเรียนรู้

การอนุรักษ์ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

พื้นที่โรงเรียน

ตชด. บ้านนาชมภู

กลุ่มสาระการเรียนรู้

กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม,

ภาพประกอบ

ผู้รวบรวม : ผศ.พฤษมงคล จุลพูล,น.ส.กวินนา ปานพิมพ์,น.ส.สุภาพร มูลมาตร,น.ส.อุษา มณีวงษ์ วันที่รวบรวม : 2559-03-06




ข้อมูลปราชญ์


เรื่องที่เกี่ยวข้อง

© 2016 | is.udru.ac.th All Right Reserved | สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี | login