ปลูกไม้ผลเพื่อเลี้ยงสัตว์

ความเป็นมาของภูมิปัญญา

มีความสนใจในการอนุรักษ์ทรัพยากรเพื่อเป็นประโยชน์แก่ชุมชนและสัตว์ป่าทั้งหลาย วันหนึ่งตนได้สังเกตเห็นถึงพฤติกรรมของสัตว์ป่าที่เข้ามาบุกรุกในสวนไร่นาที่ทำกินของชาวบ้านทำให้เกิดความเสียหาย จึงมีความคิดที่อยากจะแก้ไขปัญหาหาในส่วนนี้ จึงได้เริ่มก่อตั้งกลุ่มที่มีชื่อว่า ปลูกไม้ผลเพื่อน้องสัตว์ขึ้น โดยการ การชักชวนเพื่อนของตนและนักเรียน ที่มีความสนใจในการเข้าร่วมกิจกรรมในกลุ่มเพื่อ ดำเนินการปลูกต้นไม้ผลในพื้นที่ป่าใกล้บริเวณหมู่บ้านของตน

ขั้นตอน/วิธีการ
 1.ชักชวนบุคคลหรือนักเรียนที่มีความสนใจในการเข้าร่วมกลุ่มกิจกรรมเพื่อดำเนินงาน
 2.ศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับต้นไม้ผลเพิ่มเติมจากอินเตอร์เน็ต
 3.สำรวจบริเวณพื้นที่ป่าที่จะทำการเพาะปลูกต้นไม้ผล
 4.จัดหาเมล็ดพันธุ์ไม้ผลพร้อมวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการดำเนินกิจกรรม
 5.นำเมล็ดพันธุ์ต้นไม้ผลมาทำการเพาะปลูก ใช้ระยะเวลาประมาณ 1-2 เดือน
 6.เมื่อต้นกล้าไม้ผลที่เจริญเติบโตได้ที่แล้ว ลงพื้นที่ป่าเพื่อนำต้นกล้าไม้ผลที่ได้ไปทำการปลูก
 7.เมื่อทำการปลูกเสร็จแล้ว ต้องติดตามดูแลความเจริญเติบโตของต้นกล้า ในเดือนละครั้ง โดยการบันทึกภาพและสังเกตไปเรื่อยๆ ใช้เวลาในการทำ 2-3 เดือน

วัสดุ/อุปกรณ์
 - เมล็ดพันธุ์ไม้ผล เช่น เมล็ดขนุน เมล็ดมะม่วง เมล็ดมะขาม เป็นต้น
 - มีดพร้า
 - จอบ เสียม
 - ถุงเพาะปลูก
 - ดิน
 - น้ำ
 - บัวรดน้ำ

ความเชื่อ
ทำให้ทรัพยากรป่าไม้มีความอุดมสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น สัตว์ป่ามีแหล่งอาหารในพื้นที่เหมาะสมและไม่เข้ามาบุกรุกในพื้นที่ส่วนไรนาของชาวบ้าน

การเรียนรู้
เรียนรู้จากด้วยตัวเอง โดยการศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต และนำมาทดลองปฎิบัติ ใช้เวลาในการเรียนรู้ 1 วัน การศึกษาภูมิปัญญานี้ทำให้ทรัพยากรของป่าไม้มีความอุดมสมบูรณ์ ช่วยปลูกฝั่งจิตสำนึกให้แก่ชาวบ้านและนักเรียน ช่วยกันรักษาพื้นป่าและอนุรักษ์สัตว์ป่าไม่ให้สูญพันธ์

การถ่ายทอด

ถ่ายทอดให้ลูกหลาน นักเรียน ชาวบ้าน โดยบอกเล่าบรรยาย พร้อมลงมือปฏิบัติ

ประโยชน์ภูมิปัญญาต่อการเรียนรู้

การปลูกป่าไม้ และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

พื้นที่โรงเรียน

ตชด. บ้านนาชมภู

กลุ่มสาระการเรียนรู้

กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม,

ภาพประกอบ

ผู้รวบรวม : ผศ.พฤษมงคล จุลพูล,น.ส.ชลธิชา ชัยภูมี,น.ส.ขวัญชนก ขันธวิชัย,น.ส.ปาริสา พาพินิจ วันที่รวบรวม : 2559-03-06




ข้อมูลปราชญ์


นายบังออน ทองดง
บ้านนาชมภู

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

© 2016 | is.udru.ac.th All Right Reserved | สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี | login