ข้อง

ความเป็นมาของภูมิปัญญา

มีความสามารถในด้านการจักสานมาจากพ่อและแม่ จึงมีความชอบที่จะสานข้องขาย เพราะได้ใช้ในการทำมาหากินในครัวเรือน เวลาออกหาปลา และการสานข้องจะเป็นอาชีพเสริมจากการทำไร่ ทำสวน ทำของใช้ในครัวเรือน หรือแจกเพื่อนบ้านในบางโอกาส

ขั้นตอน/วิธีทำ
 1.ไม้ไผ่ที่เป็นลำมาผ่า แล้วจักให้เป็นเส้นๆ เสร็จแล้วเหลาให้เป็นเส้นบางๆ จะใช้เฉพาะที่ผิวเปลือกนอก ในการสานข้อง เพราะจะมีความทนทานกว่าการใช้ไส้ข้างใน
 2.ในการเหลาจะเหลาไว้หลายขนาด ถ้านำมาสานที่ตัวข้องจะใช้เส้นที่ยาวและแบน ถ้านำมาทำที่ปากข้องจะใช้เส้นเล็กและกลม เพื่อความแน่นหนาและคงทน
 3.ทำการสานโดยสานตั้งแต่ฐานของข้องขึ้นมาก่อน โดยการสานจะเป็นลายสาม ใช้เวลาการทำ 1 วัน

วัสดุ/อุปกรณ์
 - ไม้ไผ่
 - มีดสำหรับเหลา
 - เศษผ้า
 - ท่อนไม้ที่เหลาเป็นทรงกลม

การเรียนรู้
เรียนรู้จากจากพ่อและแม่ โดยจากการสังเกต จดจำ และลงมือปฏิบัติ ใช้เวลาในการเรียนรู้ 3 ปี ภูมิปัญญานี้สามารถสามารถสร้างรายได้ให้กับครอบครัว

การถ่ายทอด
ถ่ายทอดกับบุคคลที่สนใจ โดยแนะนำ บอกเล่า และปฏิบัติร่วมกัน

ประโยชน์ภูมิปัญญาต่อการเรียนรู้

วิธีการสานข้อง

พื้นที่โรงเรียน

ตชด. บ้านนาชมภู

กลุ่มสาระการเรียนรู้

กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี,

ภาพประกอบ

ผู้รวบรวม : ผศ.พฤษมงคล จุลพูล,น.ส.จิราภรณ์ โพธิ์เย็น,น.ส.จีรนันท์ หารมน,น.ส.สุพรรษา ปัตภาวะโร วันที่รวบรวม : 2559-03-05




ข้อมูลปราชญ์


เรื่องที่เกี่ยวข้อง

© 2016 | is.udru.ac.th All Right Reserved | สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี | login