กระติ๊บข้าว

ความเป็นมาของภูมิปัญญา

มีความสามารถในด้านการจักสานมาจากพ่อและแม่ จึงมีความชอบที่จะทำกระติบข้าวขาย เพราะเป็นของใช้ประจำบ้านที่มีมาอย่างยาวนาน เป็นวิวัฒนาการเกี่ยวกับการถนอมข้าวเหนียวให้มีความนุ่ม และเก็บไว้รับประทานได้นานขึ้น

ขั้นตอน/วิธีทำ
 1.นำปล้องไม้ไผ่มาตัดหัวท้าย ตัดเอาข้อออก ผ่าเป็นซีกทำเส้นตอก ขูดให้เรียบและบาง
 2.นำเส้นตอกที่ได้มาสานเป็นรูปร่างกระติบข้าว หนึ่งลูกมี 2 ฝา มาประกอบกัน
 3.นำกระติบข้าวที่ได้มาพับครึ่งให้เท่า ๆ กันพอดี เรียกว่า 1 ฝา
 4.ขั้นตอนการทำฝาปิด โดยจักเส้นตอกที่มีความกว้าง 1 นิ้ว สานเป็นลายตามะกอก และลายขัด
 5.นำฝาปิดหัวท้ายมาตัดเป็นวงกลม มาใส่เข้าที่ปลายทั้งสองข้าง
 6.ใช้ด้ายไนล่อน และเข็มเย็บเข้าด้วยกันรอบฝาปิดหัวท้าย
 7.นำก้านตาลที่ม้วนไว้มาเย็บติดกับฝาล่าง ที่เป็นตัวกระติบข้าว
 8.นำกระติบข้าวที่ได้ไปรมควันจากฟางข้าว
 9.นำไม้มาเหลาเป็นเส้นตอกเท่ากับฝากระติบพันด้วยด้ายไนล่อน แล้วเย็บติดฝาขอบบน ใช้เวลาการทำ 1 วัน

วัสดุ/อุปกรณ์
 - ไม้ไผ่ไร่
 - ด้ายไนล่อน
 - เข็มเย็บผ้าขนาดใหญ่
 - กรรไกร
 - เหล็กหมาด
 - ก้านตาล
 - เครื่องขูดตอก
 - เครื่องกรอด้าย
 - มีดโต้สำหรับผ่าไม้ไผ่
 - เลื่อยตัดไม้ไผ่

การเรียนรู้
เรียนรู้จากจากพ่อและแม่ โดยจากการสังเกต จดจำ และลงมือปฏิบัติ ใช้เวลาในการเรียนรู้ 1 ปี ภูมิปัญญานี้สามารถสามารถสร้างรายได้ให้กับครอบครัว

การถ่ายทอด
ถ่ายทอดกับบุคคลที่สนใจ โดยแนะนำ บอกเล่า และปฏิบัติร่วมกัน

ประโยชน์ภูมิปัญญาต่อการเรียนรู้

วิธีการสานกระติ๊บข้าว

พื้นที่โรงเรียน

ตชด. บ้านนาชมภู

กลุ่มสาระการเรียนรู้

กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี,

ภาพประกอบ

ผู้รวบรวม : ผศ.พฤษมงคล จุลพูล,น.ส.จิราภรณ์ โพธิ์เย็น,น.ส.จีรนันท์ หารมน,น.ส.สุพรรษา ปัตภาวะโร วันที่รวบรวม : 2559-03-05




ข้อมูลปราชญ์


เรื่องที่เกี่ยวข้อง

© 2016 | is.udru.ac.th All Right Reserved | สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี | login