ไซ

ความเป็นมาของภูมิปัญญา

เริ่มจากคิดอยากเรียนรู้ด้วยตนเอง แล้วได้คิดทำที่ดักจับสัตว์หลายชนิด เช่น ดักหนู ไก่ป่า หมูป่า และได้ทดลองทำไปเรื่อยๆจนเกิดความชำนาญ

ขั้นตอน/วิธีทำ
  1. เตรียมไม้ไผ่ที่นำมาทำไซ ต้องไม่แก่หรืออ่อนจนเกินไป อายุประมาณ 1-2 ปี เพราะถ้าแก่เกินไป มันก็จะหักง่ายประมาณ1 ลำ ยาวตรง
  2. นำไม้ไผ่ 1 ลำมาตัดเป็นท่อนยาวประมาณ 4-5 ปล้อง จำนวน 2 ท่อน และผ่าออกเป็นซีกตามต้องการ
  3. พอผ่าเป็นซีกๆแล้วก็เหลาไม้ไผ่แต่ละซีกให้เป็นเส้นเล็กกลมๆยาวตามท่อนที่เราตัด เหลาให้เรียบ จำนวน  5 เส้น เพื่อทำเป็นโครงของไซ
  4. เตรียมเส้นตอกสำหรับสานโดยเหลาเส้นตอกที่จะสานให้เป็นเส้นเล็กๆกลมๆให้เส้นอ่อนกว่าเส้นทำโครงของไซประมาณ 5-6 เส้น
  5. เริ่มการสานโดยนำเอาเส้นตอกที่จะทำโครง 5 เส้นมามัดปลายด้านหนึ่งรวมกันก่อน โดยเอาเส้นลวด มัดไว้
  6. นำเอาเส้นตอกสานสองเส้น สานสลับฟันปลาไปตั้งแต่ด้านล่างถึงด้านบน ระหว่างสานผู้ทำต้องบังคับให้รูปทรงขนาดความห่างให้เท่ากันของเส้นโครงตามลักษณะของไซ สานไซพอสานถึงปากของไซก็จะม้วนปากไซ โดยมีการเอาไม้ไผ่เหลาเป็นเส้นกลมๆเล็กๆม้วนเป็นวงกลมเท่ากับขนาดปากไซก็เอาเข็มร้อยเชือกเย็บขอบไม้ที่เตรียมไว้ให้ติดกับไซ
  7. การทำงาไซบริเวณตรงกลางค่อนไปทางปลาย จะมีการเจาะใส่งาอีกด้านละช่อง ซึ่งการทำงานั้นจะต้องเตรียมตอกที่จะสานยาวประมาณ 1 ฟุต เหลาเส้นตอกแบนๆ เหลาให้เรียบประมาณ 15-20 เส้น เริ่มสานงาไซโดยเอาเส้นตอกที่เตรียมไว้ 2 เส้นมาสานขัดกัน(หรือลายขัด)โดยโค้งปลายตอกเข้าหากันมีลักษณะคล้ายรูปกรวย พอได้งาไซแล้ว จะทำการเจาะไซเพื่อที่จะใส่งา วัดจากปากงาลงมาประมาณ 1 ฟุต เจาะด้านละช่อง เพื่อให้เป็นส่วนที่ปลาวิ่งเข้าและนำปลาออก พอเจาะได้ทั้งสองด้านแล้วก็นำงาไซมาใส่ก็เป็นอันเสร็จ

วัสดุ/อุปกรณ์
 - ไม้ไผ่
 - เชือกไนลอน
 - ด้ายรังสอง
 - สาม
 - กรรไกร

การเรียนรู้
เรียนรู้ด้วยตนเอง โดยจากการสังเกต และนำมาลองลองผิดลองถูก ใช้เวลาในการเรียนรู้ 1 วัน ภูมิปัญญานี้สามารถสร้างรายได้ให้แก่ครอบครัว และสามารถนำสัตว์ที่จับได้มาเป็นอาหารได้

การถ่ายทอด
ถ่ายทอดกับบุคคลที่สนใจ โดยแนะนำ บอกเล่า และทำให้ดูเป็นตัวอย่าง

ประโยชน์ภูมิปัญญาต่อการเรียนรู้

วิธีการสานทำไซ

พื้นที่โรงเรียน

ตชด. บ้านนาชมภู

กลุ่มสาระการเรียนรู้

กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี,

ภาพประกอบ

ผู้รวบรวม : ผศ.พฤษมงคล จุลพูล,น.ส.ทักษพร ไชยนาม,น.ส.ศิริพร วระวงศ์,น.ส.ภารดี ศรีบัวน้อย วันที่รวบรวม : 2559-03-05




ข้อมูลปราชญ์


เรื่องที่เกี่ยวข้อง

© 2016 | is.udru.ac.th All Right Reserved | สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี | login