ทอผ้า

ความเป็นมาของภูมิปัญญา

ตนอยู่ในครอบครัวที่มีทักษะการทอผ้ามาตั้งแต่รุ่นปู่รุ่นย่าอยู่แล้ว พอมาถึงรุ่นตนก็เรียนรู้มาจากแม่แต่ก็ยังไม่มีลวดลายสวยโดดเด่นจึงไม่ได้เรียนรู้ต่อ พออายุมากขึ้นจึงกลับมาทอผ้าอีกครั้งเพื่อส่งให้พ่อค้าแต่กลับโดนโกง สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีจึงยื่นมือเข้ามาช่วยจากโครงการส่งเสริมอาชีพตามพระราชดำริของพระองค์ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาอาชีพของประชาชนในถิ่นชนบทห่างไกล ให้ชาวบ้านในถิ่นทุรกันดารมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ด้วยการมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการผลิตสินค้าที่เป็นภูมิปัญญาของตนเองและใช้วัสดุในท้องถิ่น

ขั้นตอน/วิธีทำ
 1.เตรียมด้ายไส้หูกให้เรียบร้อย นำเอาเส้นหูกอันใหม่สืบต่อกับไส้หูกที่ค้างอยู่ในเขาหูกและร่องฟันฟืมเดิม กางกี่หรือหูก
 2.เอาหลอดไหมเข้าร่องกระสวย ร้อยไหมจากหลอดผ่านรูเล็กๆ ข้างกระสวย
 3.คล้องเชือกจากเขาหูกอันหนึ่งเข้ากับไม้คันเหยียบข้างใดข้างหนึ่งและคล้องเชือกเขาหูกที่เหลืออีกอันเข้ากับไม้คันเหยียบอีกอัน เมื่อเหยียบไม้คันเหยียบข้างหนึ่ง ไส้หูกกางออกเป็นช่องเนื่องจากการดึงของเขาหูก พุ่งกระสวยผ่านช่องว่างนั้น แล้วดึงฟืมกระทบเส้นฝ้ายที่ออกมาจากกระสวยเข้าไปเก็บไว้ เหยียบไม้คันเหยียบอีกอัน พุ่งกระสวยผ่านช่องว่าง กลับมาทางเดิม ดึงฟืมกระทบเส้นฝ้ายเข้าเก็บ เหยียบไม้คันเหยียบอีกอัน พุ่งกระสวย ดึงฟืมกระทบ เหยียบไม้คันเหยียบ ทำสลับกันไปเรื่อยๆ จนได้ผืนผ้าเกิดขึ้นยากมากแล้ว จึงพันผืนผ้าไว้ด้วยไม้กำพั้น
 4.เมื่อทอผ้าได้จำนวนหนึ่งแล้วจะต้องมีการม้วนผ้าเก็บเข้าแกนม้วน โดยจะต้องมีการปรับด้ายให้หย่อนก่อนจึงม้วนผ้าเก็บ ใช้เวลาการทำ 5 วันต่อ 1 ผืน (100x400 เมตร)

วัสดุ/อุปกรณ์
 - โครงหูกหรือโครงกี่
 - ฟืม
 - เขาหูก
 - กระสวย
 - ไม้หน้าหูก
 - ไม้รางหูก
 - กระดานม้วนหูก
 - ลูกตุ้ง
 - ไม้ค้างเขา
 - คานแขวน
 - ตีนฟืม
 - ไม้ม้วนผ้า หรือไม้ค้ำพัน
 - บ่ากี่
 - ไม้นั่ง
 - ผัง

การเรียนรู้
เรียนรู้จากมารดา เรียนรู้โดยสังเกต ทดลองทำและลองผิดลองถูกด้วยตนเอง ใช้เวลาในการเรียนรู้ 3 เดือน ภูมิปัญญานี้สามารถนำมาประกอบอาชีพเสริมได้ และเป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาการทอผ้าของครอบครัว

การถ่ายทอด
มีการสอนให้คนในชุมชน ผู้ที่สนใจ และสมาชิกในกองทุนกลุ่มพัฒนาอาชีพ(ทอผ้า) ในโครงการส่งเสริมอาชีพตามพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี

ประโยชน์ภูมิปัญญาต่อการเรียนรู้

วิธีการทอผ้า และการย้อมผ้าสีธรรมชาติ

พื้นที่โรงเรียน

ตชด. บ้านนาชมภู

กลุ่มสาระการเรียนรู้

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์, กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี,

ภาพประกอบ

ผู้รวบรวม : ผศ.พฤษมงคล จุลพูล,น.ส.สุปรียา วิจิตรไพโรจน์,น.ส.สุรีมาศ จันทาวัน,น.ส.สุธิตา สีหาดี วันที่รวบรวม : 2559-03-05




ข้อมูลปราชญ์


นางบัวฮอง หาสาง
บ้านนาชมภู

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

© 2016 | is.udru.ac.th All Right Reserved | สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี | login