ปลูกผักสวนครัวเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ

ความเป็นมาของภูมิปัญญา

เริ่มปลูกตั้งแต่บรรพบุรุษ เพราะผักสวนครัวเป็นสิ่งที่ต้องมีประจำอยู่ทุกบ้าน เพื่อใช้ในการประกอบอาหาร และไม่ได้เสียเงิน เสียเวลาไปซื้อที่ตลาด การปลูกผักสวนครัวยังช่วยสานสัมพันธ์กับเพื่อนบ้านได้ดีอีกด้วย เพราะได้แบ่งปันผักสวนครัวที่ปลูกไว้ให้เพื่อนบ้าน แบ่งเมล็ดพันธุ์แต่ละชนิดให้เพื่อนบ้านได้เอาไปปลูกที่บ้าน และยังได้แบ่งผักสวนครัวให้กับทางโรงเรียน ตชด.บ้านนาชมภู ได้เอาไปประกอบอาหารกลางวันให้แก่นักเรียนได้ทานด้วย พร้อมยังได้ทำแปลงผักให้กับทางโรงเรียน ตชด.บ้านนาชมภู

ขั้นตอน/วิธีทำ
 1.เตรียมแปลงเป็นสี่เหลี่ยม ความยาวประมาณ 2 เมตร
 2.ตีดินให้ร่วน แล้วปล่อยทิ้งไว้ 1 วัน เพื่อกำจัดแบคทีเรียที่อยู่ในดิน จากนั่นใส่ปุ๋ยอินทรีย์แล้วโรยแกลบตาม
 3.หลังจากโรยแกลบแล้วให้เริ่มหว่านเมล็ดพันธุ์ ในการหว่านเมล็ดพันธุ์นั่น ต้องขึ้นอยู่กับผักแต่ละชนิด ถ้าเป็นผักบุ้งจีนก็หว่านเป็นแถว แต่ถ้าเป็นผักจำพวก ผักกวางตุ้ง ผักชี ผักคะน้า ก็หว่านเมล็ดพันธุ์ลงแปลงได้เลย และยังมีผักบางประเภทที่ไม่ต้องหว่านลงแปลงแต่ปลูกลงในหลุม เช่น แตงกวา
 4.ผักที่ปลูกใหม่ๆ ให้รดน้ำวันเว้นวัน เพราะถ้ารดน้ำทุกวันจะทำให้แปลงแฉะและรากของผักเน่า
 5.การใส่ปุ๋ยของผักแต่ละชนิด ต้องเน้นใส่เฉพาะปุ๋ยอินทรีย์ เพราะปุ๋ยอินทรีย์จะทำให้ผักกรอบ หวาน และปลอดสารพิษ ใช้เวลาในการทำ 1-2 เดือน

วัสดุ/อุปกรณ์
 - จอบ
 - เสียม
 - คราด
 - ส้อมพรวนดิน
 - เมล็ดพันธุ์
 - แกลบ
 - ปุ๋ยอินทรีย์

การเรียนรู้
เรียนรู้มาจากกรมปศุสัตว์ประจำอำเภอ โดยไปศึกษาดูงาน สังเกต และนำมาปฎิบัติ ใช้เวลาในการเรียนรู้ 2 วัน ภูมิปัญญานี้สามารถมีความรู้ติดตัวสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ และเพิ่มรายได้ ลดรายจ่ายให้แก่ครอบครัว

การถ่ายทอด
มีการถ่ายทอดให้กับ ลูกหลาน และบุคคลทั่วไปที่สนใจ โดยสามารถบรรยาย ปฏิบัติให้ดูเป็นตัวอย่าง

ประโยชน์ภูมิปัญญาต่อการเรียนรู้

วิธีการปลูกผักสวนครัว และการทำเกษตรตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง

พื้นที่โรงเรียน

ตชด. บ้านนาชมภู

กลุ่มสาระการเรียนรู้

กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี,

ภาพประกอบ

ผู้รวบรวม : ผศ.พฤษมงคล จุลพูล,น.ส.ชลธิชา ชัยภูมี,น.ส.ขวัญชนก ขันธวิชัย,น.ส.ปาริสา พาพินิจ วันที่รวบรวม : 2559-03-05




ข้อมูลปราชญ์


นางนิล วระศิริ
บ้านนาชมภู

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

© 2016 | is.udru.ac.th All Right Reserved | สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี | login