ฮีต 11 บุญออกพรรษา

ความเป็นมาของภูมิปัญญา

เป็นการสืบทอดมาตั้งแต่สมัยโบราณ ทำให้อยู่เย็นเป็นสุข มีความสบายใจ เป็นสิริมงคลแก่คนในหมู่บ้าน

วิธีการ/พิธีกรรม
ช่วงเวลาในการประกอบพิธีกรรม เดือน 11 ของทุกๆ ปี ก่อนวันออกพรรษาชาวบ้านจะเตรียมสถานที่ในการเวียนเทียนโดยการทำประทีป คือ การใช้ไม้ไผ่มาทำฐานเพื่อตั้งเทียนโดยมี ลูกมะตูมกา ขวด กระป๋อง กะลา มะพร้าว ใส่น้ำมันแล้วใส่ฝ้ายหรือด้ายทำไส้ให้เป็นรูปตีนตาตั้งลงในภาชนะใส่น้ำมันประทีปที่จุดด้วยน้ำมันแขวนไว้ตามบริเวณวัด พอถึง 15 ค่ำ เดือน 11 ชาวบ้านจะร่วมกันทำบุญตักบาตรเทโวที่วัด และจัดอาหารคาวหวานไปถวายพระภิกษุสามเณร มีการรับศีล สวดมนต์ทำวัดเช้า ฟังเทศน์ และผู้มีจิตศรัทธาที่จะถวายผ้าจำนำพรรษาก็นำไปถวายพระภิกษุด้วย และกลางคืนจะมีการเวียนเทียน จุดประทีปเพื่อความสว่างไสวพร้อมมีการจุดปะทัดเสียงดัง

ความเชื่อ
เชื่อกันว่าการทำบุญกับพระที่ออกพรรษาแล้วจะได้บุญกุศลมาก

การเรียนรู้
เรียนรู้จากพ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ทำสืบทอดกันมา โดยวิธีการสังเกต และปฎิบัติตาม ใช้เวลาในการเรียนรู้ 3 เดือน การเรียนรู้ภูมิปัญญานี้ทำให้แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน คนกับธรรมชาติและคนกับสิ่งเหนือธรรมชาติ ทำให้เกิดความเชื่อและศรัทธาในภูมิปัญญาของตน

การถ่ายทอด
ถ่ายถอดให้กับชาวบ้าน และลูกหลาน โดยการปฏิบัติให้ดู

ประโยชน์ภูมิปัญญาต่อการเรียนรู้

การอนุรักษ์และสืบสานประเพณี ฮีตสิบสองคองสิบสี่

พื้นที่โรงเรียน

ตชด. บ้านเมืองทอง

กลุ่มสาระการเรียนรู้

กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม,

ภาพประกอบ

ผู้รวบรวม : ผศ.พฤษมงคล จุลพูล,น.ส.ศิริกุล สารสม,น.ส.ขวัญชนก เอี่ยมศิริ,น.ส.ชญานิศฐ์ คงทัน วันที่รวบรวม : 2559-02-21




ข้อมูลปราชญ์


นายจำปา สุนนท์
บ้านนาเมืองทอง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

© 2016 | is.udru.ac.th All Right Reserved | สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี | login