ฮีต 10 บุญข้าวสาก

ความเป็นมาของภูมิปัญญา

เป็นการสืบทอดมาตั้งแต่สมัยโบราณ ทำให้อยู่เย็นเป็นสุข มีความสบายใจ เป็นสิริมงคลแก่คนในหมู่บ้าน

วิธีการ/พิธีกรรม
ช่วงเวลาในการประกอบพิธีกรรม เดือน 10 ของทุกๆ ปี ก่อนวันวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 10 ชาวบ้านจะพากันทำข้าวสาก คือการนำเอข้าวเม่า มาคลุกกับข้าวตอกแตก น้ำตาล คลุกให้เข้ากัน และเตรียมอาหารคาวหวาน เพื่อเอาไปทำบุญที่วัด พอถึงวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 10 จะมีการทำบุญตักบาตรที่วัด ถวายทานอุทิศส่วนกุศลให้ญาติผู้ล่วงลับ ตอนเพลจะทำเป็นสำรับพานอาหารถวายพระสงฆ์ ฟังเทศน์ถวายฉลองข้าวสากและกรวดน้ำอุทิศกุศล และนำข้าวสากที่จะนำไปแจก ห่อด้วยใบตอง กล้วยและกลัดด้วยไม้ไผ่ เย็บติดกันเป็นคู่ๆ แล้วนำไปห้อยไว้ตามต้นไม้และรั้ว

ความเชื่อ
เพื่อความสบายใจและเป็นสิริมงคล

การเรียนรู้
เรียนรู้จากพ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ทำสืบทอดกันมา โดยวิธีการสังเกต และปฎิบัติตาม ใช้เวลาในการเรียนรู้ 3 เดือน การเรียนรู้ภูมิปัญญานี้ทำให้แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน คนกับธรรมชาติและคนกับสิ่งเหนือธรรมชาติ ทำให้เกิดความเชื่อและศรัทธาในภูมิปัญญาของตน

การถ่ายทอด
ถ่ายถอดให้กับชาวบ้าน และลูกหลาน โดยการปฏิบัติให้ดู

ประโยชน์ภูมิปัญญาต่อการเรียนรู้

การอนุรักษ์และสืบสานประเพณี ฮีตสิบสองคองสิบสี่

พื้นที่โรงเรียน

ตชด. บ้านเมืองทอง

กลุ่มสาระการเรียนรู้

กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม,

ภาพประกอบ

ผู้รวบรวม : ผศ.พฤษมงคล จุลพูล,น.ส.ศิริกุล สารสม,น.ส.ขวัญชนก เอี่ยมศิริ,น.ส.ชญานิศฐ์ คงทัน วันที่รวบรวม : 2559-02-21




ข้อมูลปราชญ์


นายจำปา สุนนท์
บ้านนาเมืองทอง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

© 2016 | is.udru.ac.th All Right Reserved | สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี | login