สู่ขวัญ

ความเป็นมาของภูมิปัญญา

เกิดจากการที่ได้เห็นพิธีสู่ขวัญนี้มาตั้งแต่เด็ก แล้วเกิดความสนใจในพิธีกรรมนี้ เพราะพิธีกรรมนี้เป็นพิธีที่มีความศักดิ์สิทธิ์ และเป็นพิธีกรรมที่จำเป็นในการเรียกขวัญและกำลังใจ

ขั้นตอนการทำพิธี
 1.จุดธูปเทียนปักลงในพานบาศรี แล้วยกขัน 5 ขึ้น แล้วกล่าวคำไหว้พระ ส่วนใหญ่คำกล่าวไหว้พระจะเป็นการบูชาพระรัตนตรัย
 2.กล่าวคำไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ขอเชิญเทวดาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์มาเป็นสักขีพยาน
 3.ผูกแขนเจ้าของขวัญ เพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคล และเชื่อว่าเป็นการป้องกันขวัญออกจากร่าง ไปอีก การผูกแขนเจ้าของขวัญจะเอาไข่และกล้วย ใส่อุ้งมือ

วัสดุ/อุปกรณ์

 - ฝ้ายสายสิญจน์
 - พาขวัญ
 - ข้าวต้ม
 - ไข่
 - กล้วย
 - ดอกไม้
 - เทียนเวียนหัวคาคิง
 - ขันน้ำมนต์

ความเชื่อ
เป็นประเพณีที่นิยมปฏิบัติกันในพิธีกรรมการแต่งงาน ทางทุกภาคของไทยเรามาช้านาน ถือว่าพิธีกรรมนี้เป็นสิริมงคลสำหรับคู่บ่าวสาวที่จะทำพิธีสู่ขวัญ

การเรียนรู้
เรียนรู้มาจากบรรพบุรุษ โดยใช้วิธี สังเกต จดจำ การฟัง การดู ลองปฏิบัติและเรียนรู้ในตำรา ใช้เวลาเรียนรู้ 5-6 เดือน ภูมิปัญญานี้เป็นสิ่งที่เรียกขวัญกำลังใจ และสามารถที่จะถ่ายทอดพิธีกรรมนี้ให้ลูกหลานและบุคคลทั่วไปได้เห็น

การถ่ายทอด

ถ่ายทอดให้กับลูกหลานและบุคคลที่สนใจ โดยการปฏิบัติเป็นแบบอย่างให้แก่ลูกหลานได้สืบทอดต่อไปในอนาคต

ประโยชน์ภูมิปัญญาต่อการเรียนรู้

พิธีกรรมสู่ขวัญ

พื้นที่โรงเรียน

ตชด. บ้านเมืองทอง

กลุ่มสาระการเรียนรู้

กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม,

ภาพประกอบ

ผู้รวบรวม : ผศ.พฤษมงคล จุลพูล,น.ส.จิราภรณ์ โพธิ์เย็น,น.ส.จีรนันท์ หารมน,น.ส.สุพรรษา ปัตภาวะโร วันที่รวบรวม : 2559-02-21




ข้อมูลปราชญ์


นายจำปา สุนนท์
บ้านนาเมืองทอง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

© 2016 | is.udru.ac.th All Right Reserved | สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี | login