ปลาร้า

ความเป็นมาของภูมิปัญญา

ด้วยความที่ชอบทานแจ่วบอง และอยากทำเป็นอาชีพเสริมเพื่อหารายได้เสริม ดังนั้นจึงไปปรึกษาเรียนรู้วิธีการทำปลาร้ากับคุณยาย และไปศึกษาดูงานเมื่อมีโอกาส ทำให้มีความเชี่ยวชาญจนถึงทุกวันนี้

ขั้นตอน/วิธีทำ
   1.เลือกปลามาคัดแยกปลาตามขนาด
   2.นำมาขอดเกล็ด ควักไส้ออก
   3.นำปลามาคลุกเกลือ ให้เกลือละลาย จนเนื้อปลาแข็ง
   4.นำปลาที่คลุกเคล้าใส่ภาชนะที่เตรียมไว้

หลังจากนั้นอีก 3-6 เดือน

   1.ปรุงแต่งปลาร้า โดยใช้ ข้าวตอกแตกคั่ว ตำให้ละเอียด
   2.นำไปคลุกเข้ากับปลาที่หมักไว้
   3.แล้วปิดฝา ด้วยผ้าขาวบาง 1 ชั้น และถุงพลาสติกอีก 1 ชั้น แล้วปิดฝาให้สนิท
   4.ทิ้งไว้อีก 9-12 เดือน แล้วน้ำปลาร้าที่หมักไว้ 9-12 เดือน มาปรุงแต่งรสชาติ โดยใช้ รำอ่อน คั่วเหลืองหอม ใส่เล็กน้อย และใส่เกลือ
   5.ชิมรสชาติให้ได้รสชาติที่ต้องการ แต่ให้เข้มข้น ใช้เวลาในการทำ 1 ปีในการหมัก

วัสดุ/อุปกรณ์

 - ปลา
 - เกลือ
 - รำ
 - น้ำสะอาด
 - ภาชนะสำหรับใส่ปลาร้า (ไหดิน/ถังพลาสติก)
 - หม้อ
 - ผ้าขาวบาง
 - ถุงพลาสติก

การเรียนรู้
เรียนรู้มาจากคุณยาย และไปศึกษาดูงาน โดยวิธีการสังเกต จดจำ และนำมาฝึกปฏิบัติ ใช้เวลาในการเรียนรู้ 2 -3 ปี การเรียนรู้ภูมิปัญญานี้ทำให้ตนมีรายได้เลี้ยงครอบครัว รู้จักการถนอมอาหาร และนำมาถ่ายทอดกับลูกศิษย์

การถ่ายทอด

ถ่ายทอดให้กับนักเรียน และบุคคลที่สนใจ โดยการสาธิตให้ดู สอนให้ลงมือปฏิบัติ จากปลาในบ่อของโรงเรียน ให้เด็กค่อยๆฝึกเรียนรู้

ประโยชน์ภูมิปัญญาต่อการเรียนรู้

วิธีการทำปลาร้า

พื้นที่โรงเรียน

ตชด. บ้านเมืองทอง

กลุ่มสาระการเรียนรู้

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์, กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี,

ภาพประกอบ

ผู้รวบรวม : ผศ.พฤษมงคล จุลพูล,น.ส.จิราภรณ์ โพธิ์เย็น,น.ส.จีรนันท์ หารมน,น.ส.สุพรรษา ปัตภาวะโร วันที่รวบรวม : 2559-02-21




ข้อมูลปราชญ์


ด.ต.หญิงสุรชัย แสงคำ
บ้านนาเมืองทอง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

© 2016 | is.udru.ac.th All Right Reserved | สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี | login