สวิง

ความเป็นมาของภูมิปัญญา

แต่เดิมทำนามาก่อน แล้วคิดว่าการที่เราไถนาจะต้องมีปลาขี้คราด จึงทำสวิงขึ้นมาเพื่อใช้ในดักจับปลาในนาข้าว หรือตอนที่ฝนตกแล้วน้ำท่วมขังก็ไปซ่อนเอาปลาตามทุ่งนามาประกอบเป็นอาหารของมื้อนั้น

ขั้นตอน/วิธีทำ
 1.นำด้ายไนล่อนมาใส่ไว้ในไม้กีม
 2.เริ่มก่อจอม เพื่อให้ฐานแข็งแรง
 3.จากนั้นก็สานไปเรื่อยๆจนได้ความลึกประมาณที่พอเหมาะ
 4.นำไม้ไผ่มาเหลาให้ได้ 2 อัน อันแรกเป็นด้ามสวิง ส่วนอันที่สองเหลาให้มีขนาดเล็กพอประมาณ เพื่อนำไปสอดกับสวิงที่สานไว้
 5.นำไม้ไผ่อันแรก ที่เหลาแล้วมาเฉือนปลายสองด้านให้ได้รูป แล้วนำมาประกบกันจนเป็นทรงกลม จากนั้นก็มัดด้วยเชือกฟางไว้ก่อน แล้วค่อยตอกตะปูเข็มให้แน่น
 6.นำสวิงที่สานเสร็จเรียบร้อยมาสอดกับไม้ไผ่อันที่สองที่เหลาไว้และนำมามัดติดกับไม้ไผ่อันแรกด้วยเชือกฟางหลังจากนั้นก็เย็บติดกับขอบไม้ไผ่ด้วยการตอกตะปูเข็ม
 7.หลังจากที่เย็บด้วยตะปูเข็มเรียบร้อยแล้ว ก็นำมีดมาตัดเอาเชือกฟางออกก็เสร็จสิ้น ใช้เวลาในการทำ 3-4 วัน

วัสดุ/อุปกรณ์
 - ไม้ไผ่
 - ด้ายไนล่อน
 - เชือกฟาง
 - ตะปู

การเรียนรู้
เรียนรู้จากปู่ย่าตายาย โดยเริ่มสังเกต จดจำ และลงมือปฏิบัติ ใช้เวลาในการเรียนรู้เพียง 2 วัน ภูมิปัญญานี้มีคุณค่าช่วยเป็นเครื่องมือในการทำมาหากินได้

การถ่ายทอด
ถ่ายทอดให้กับบุคคลที่สนใจ โดยสามารถบอก ฝึกสอน และทำให้ดูเป็นตัวอย่างได้

ประโยชน์ภูมิปัญญาต่อการเรียนรู้

วิธีการสานสวิง

พื้นที่โรงเรียน

ตชด. บ้านเมืองทอง

กลุ่มสาระการเรียนรู้

กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี,

ภาพประกอบ

ผู้รวบรวม : ผศ.พฤษมงคล จุลพูล,น.ส.วันวิสา ทำมา,น.ส.ธิดารัตน์ ประทุมชัย,น.ส.ศิรภัสสร วรรณชัย วันที่รวบรวม : 2559-02-20




ข้อมูลปราชญ์


นางบัวลอง ไทยขันธ์
บ้านนาเมืองทอง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

© 2016 | is.udru.ac.th All Right Reserved | สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี | login