ตะกร้า

ความเป็นมาของภูมิปัญญา

แต่ก่อนเห็นบิดาจักสานตะกร้าเลยอยากที่จะลองทำดู เพราะคิดว่าตะกร้าจะมีประโยชน์หลายๆอย่างและเก็บไว้ใช้ภายในบ้านได้ จึงให้บิดาฝึกสอนการจักสานตะกร้า

ขั้นตอน/วิธีทำ
 1.ตัดไม้ไผ่มาผ่าซีกและผ่าแบ่งเป็นเสี้ยวเล็กๆ และส่วนหนึ่งผ่าแบ่งเป็นเสี้ยวที่ใหญ่กว่า
 2.นำแต่ละชิ้นมาเหลา
 3.เริ่มสานที่ก้นก่อน โดยใช้ส่วนที่แข็งกว่าและหนากว่า เส้นที่แข็งกว่าสานขึ้นตามแนวตั้ง ความห่างเท่าๆ กัน ส่วนเส้นไม้ไผ่ที่บาง สานตามขวางชั้นมาเรื่อยๆ แน่น มีลักษณะเป็นวงกลมแต่ปากตะกร้าจะกว้างกว่าก้นตะกร้า พอได้ขนาดตามต้องการใช้ไม้ไผ่ขนาด 1 นิ้ว ทำให้เป็นวงกลมและวางไว้ที่ขอบปากตะกร้า
 4.ใช้ไม่ไผ่ส่วนที่ตั้งขึ้นพันลงไปด้านล่าง จนแน่นไม่หลุด ตัดเศษที่เหลือทิ้ง ตกแต่งให้สวยงาม
 5.ใส่หูหรือที่หิ้ว ซึ่งทำจากไม้ไผ่และโค้งงอได้ ใช้เชือกหรือหวายพันให้แน่น ใช้เวลาในการทำ 2 วัน

วัสดุ/อุปกรณ์
 - ไม้ไผ่
 - หวาย
 - ด้ายเขียว

การเรียนรู้
เรียนรู้จากบิดา โดยเริ่มสังเกต จดจำ และลงมือปฏิบัติ ใช้เวลาในการเรียนรู้เพียง 1 วัน ภูมิปัญญานี้มีคุณค่าช่วยเป็นภาชนะใส่อาหารได้ และสร้างรายได้ให้กับครอบครัวอีกทางหนึ่ง

การถ่ายทอด
ถ่ายทอดให้กับลูกหลาน โดยสามารถบอก ฝึกสอน และทำให้ดูเป็นตัวอย่างได้

ประโยชน์ภูมิปัญญาต่อการเรียนรู้

วิธีการสานตะกร้า

พื้นที่โรงเรียน

ตชด. บ้านเมืองทอง

กลุ่มสาระการเรียนรู้

กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี,

ภาพประกอบ

ผู้รวบรวม : ผศ.พฤษมงคล จุลพูล,น.ส.วันวิสา ทำมา,น.ส.ธิดารัตน์ ประทุมชัย,น.ส.ศิรภัสสร วรรณชัย วันที่รวบรวม : 2559-02-20




ข้อมูลปราชญ์


นายบุญเรียง พันพรม
บ้านนาเมืองทอง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

© 2016 | is.udru.ac.th All Right Reserved | สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี | login