ไซ

ความเป็นมาของภูมิปัญญา

ช่วงนั้นเป็นช่วงหน้าฝน มีน้ำขึ้นน้ำลง และปลาเยอะ จึงคิดทำเครื่องจักสานชนิดนี้ขึ้นมาประกอบการทำมาหากิน โดยทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายลงอีก บางครั้งถ้าได้ปลาเยอะก็นำไปขายช่วยให้ครอบครัวมีรายได้เสริม

ขั้นตอน/วิธีทำ
 1.นำไม้ไผ่ที่ผ่าเป็นซีก ๆ มาจักตอกเป็นเส้นๆ ตอกยืน และตอกสาน
 2.เมื่อเหลาตอกยืนเสร็จแล้ว นำเชือกมัดส่วนหัว ไว้ให้แน่น และหันส่วนปลายเข้าหาตัว ดัดตอกทีละเส้นให้เป็นเกลียว หันออกไปทางด้านหน้า
 3. เมื่อดัดตอกทุกเส้นเสร็จแล้ว นำเชือกมาสานแล้วใช้ตอกสานเสียบลงที่ตอกยืนเว้นตอกยืน 2 เส้น แล้วเสียบตอกสาน จำนวน 5 เส้น
 4.เมื่อเสียบตอกสานเสร็จแล้ว สานตัวสองขัดหนึ่ง ยกตอกยืนสี่เส้น ตัวหลังยกตอกยืนห้าเส้น สานในลักษณะนี้ไปจนกระทั่งสุดเส้นตอกสาน
 5.นำไม้ไผ่เหลาแบน ใหญ่มามัดใส่ที่ไซ ใช้เชือกมัดให้แน่น
 6.วางตอกเหลาแบนที่พื้น จำนวน 4 เส้น นำตอกสานเส้นเล็ก สานสลับไปมา แล้วนำส่วนปลายของงาที่สานเสร็จ มารวบปลายเข้าหากันและใช้ตอกส่วนปลายสานเป็นลายขัด
 7.ใช้มีดตัดตอกยืนของงาส่วนปลาย และเสียบขัดที่ตัวไซ เพื่อยึดงาให้ติดกับไซให้แน่น นำไม้ไผ่กลมมาทำปลายแหลมทั้งสองด้าน เสียบยึดฐานงาติดกับไซให้แน่นอีก 1 ชิ้น แล้วส่วนขอบงาและขอบไซทำการยึดเชือกมัดให้แน่น ใช้เวลาในการทำ 3 วัน

วัสดุ/อุปกรณ์
 -ไม้ไผ่
 -มีด
 -ขวาน
 -เถาวัลย์

การเรียนรู้
เรียนรู้จากบิดา โดยเริ่มสังเกต จดจำ และลงมือปฏิบัติ ใช้เวลาในการเรียนรู้ 3 วัน ภูมิปัญญานี้มีคุณค่าช่วยในการทำมาหากิน และ สร้างรายได้ให้กับครอบครัวอีกด้วย

การถ่ายทอด
ถ่ายทอดให้กับลูกหลาน โดยสามารถบอก ฝึกสอน และทำให้ดูเป็นตัวอย่างได้

ประโยชน์ภูมิปัญญาต่อการเรียนรู้

วิธีการสานไซ

พื้นที่โรงเรียน

ตชด. บ้านเมืองทอง

กลุ่มสาระการเรียนรู้

กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี,

ภาพประกอบ

ผู้รวบรวม : ผศ.พฤษมงคล จุลพูล,น.ส.วันวิสา ทำมา,น.ส.ธิดารัตน์ ประทุมชัย,น.ส.ศิรภัสสร วรรณชัย วันที่รวบรวม : 2559-02-20




ข้อมูลปราชญ์


นายบุญเรียง พันพรม
บ้านนาเมืองทอง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

© 2016 | is.udru.ac.th All Right Reserved | สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี | login