ข้อง

ความเป็นมาของภูมิปัญญา

จากเดิมที่อยู่บ้านป่า แล้วเกิดการเรียนจากพ่อแม่มาตั้งแต่เด็กๆ จึงคิดขึ้นว่าอยากจักสานข้องเพื่อใช้ในการหาปลา หลังจากนั้นจึงริเริ่มปฏิบัติจนมาถึงปัจจุบัน

ขั้นตอน/วิธีทำ
 1.นำไม้ไผ่ที่เป็นลำมาผ่า เเล้วเหลาให้เป็นเส้นบางๆ
 2.ข้องจะนำมาใช้สานจะเป็นเส้นที่ยาวเเละเเบน ถ้านำมาทำที่ปากข้องจะใช้เส้นเล็กเเละกลม
 3.ทำการสานโดยสานตั้งเเต่ฐานของตข้องขึ้นมาก่อน โดยสานเป็นการสลับ1 เว้น1
 4.เมื่อทำการขึ้นข้องเสร็จแล้วให้ทำการหมุนเกลียวที่ปลายข้องโดยเอาด้ายเขียวมายึดติดกันให้แน่น
 5.นำไม้ไผ่มาทำเป็นปากข้องจะใช้เส้นตอก 10 เส้น ตอกบางขนาด 1 ซม. แล้วหมุนเกลียวหัวให้เป็นวงกลมนำด้ายเขียวมายึดติดกันแน่นจะเหมือนรูปกรวย ส่วนที่เป็นปลายตัดให้เท่ากัน ใช้เวลาในการทำ 1 วัน

วัสดุ/อุปกรณ์
 - ไม้ไผ่
 - หวาย
 - ด้ายเขียว
 - มีด

การเรียนรู้
เรียนรู้จากบรรพบุรุษสืบต่อๆกันมา โดยเริ่มสังเกต จดจำ และลงมือปฏิบัติ ใช้เวลาในการเรียนรู้ 1 สัปดาห์ ภูมิปัญญานี้มีคุณค่าในการนำไปใช้ประโยชน์ภายในครอบครัวได้ และประหยัดค่าใช้จ่ายอีกด้วย

การถ่ายทอด
ถ่ายทอดให้กับลูกหลาน โดยสามารถบอก ฝึกสอน และทำให้ดูเป็นตัวอย่างได้

ประโยชน์ภูมิปัญญาต่อการเรียนรู้

วิธีการสานข้อง

พื้นที่โรงเรียน

ตชด. บ้านเมืองทอง

กลุ่มสาระการเรียนรู้

กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี,

ภาพประกอบ

ผู้รวบรวม : ผศ.พฤษมงคล จุลพูล,น.ส.วันวิสา ทำมา,น.ส.ธิดารัตน์ ประทุมชัย,น.ส.ศิรภัสสร วรรณชัย วันที่รวบรวม : 2559-02-20




ข้อมูลปราชญ์


นายบุญเรียง พันพรม
บ้านนาเมืองทอง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

© 2016 | is.udru.ac.th All Right Reserved | สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี | login