หวด

ความเป็นมาของภูมิปัญญา

จากเดิมที่อยู่บ้านป่า แล้วเกิดการเรียนจากพ่อแม่มา จึงคิดขึ้นว่าอยากจักสานหวดเพื่อใช้ในการนึ่งข้าวกิน หลังจากนั้นจึงริเริ่มปฏิบัติจนมาถึงปัจจุบัน

ขั้นตอน/วิธีทำ
 1.ใช้เลื่อยตัวให้เป็นปล้องๆ โดยทิ้งส่วนที่เป็นข้อ
 2.ใช้พร้าผ่าไม้ไผ่เป็นซีก ขนาดความกว้างของซีกไม้ไผ่
 3.เอาส่วนที่เป็นเนื้อไม้และเปลือกไม้ไผ่ แยกออกจากกัน
 4.ใช้ตอกเป็นเปลือกไผ่ สานก่อรวมกัน และวางในแนวตั้ง 3 เส้น แนวนอน 3 เส้น สานขัดเป็นลาย 3 โดยเริ่มจากจุดกึ่งกลาง สานไปข้างจุดกึ่ง สานไปข้างละ 11 ชัด
 5.เมื่อความสูงได้ตามความต้องการแล้ว จะใช้ตอกไพ มาสานขัดหวดเป็นขัดลาย 3 โดยใช้ตอกไพ 3 เส้น สานลายขัดไล่กันไปให้รอบ แล้วตัดเส้นตอกที่ยาวเกินไปทิ้งเพื่อเตรียมม้วนในขั้นตอนสุดท้าย
 6.การม้วนหวดเริ่มจากด้านข้างของหวด ใช้นิ้วมือหักม้วนไปตามลาย ม้วนต่อกันไปเรื่อยๆ จนถึงกึ่งกลายและเหน็บเส้นตอก 2 –3 เส้น สุดท้ายลงไปตามลาย ใช้เวลาในการทำ 2 วันต่อ 1 ใบ

วัสดุ/อุปกรณ์
 - ไม้ไผ่
 - เลื่อย
 - พร้า

การเรียนรู้
เรียนรู้จากบรรพบุรุษสืบต่อๆกันมา โดยเริ่มสังเกต จดจำ และลงมือปฏิบัติ ใช้เวลาในการเรียนรู้ 1 สัปดาห์ ภูมิปัญญานี้มีคุณค่าในการนำไปใช้ประโยชน์ภายในครอบครัวได้ และประหยัดค่าใช้จ่ายอีกด้วย

การถ่ายทอด
ถ่ายทอดให้กับลูกหลาน โดยสามารถบอก ฝึกสอน และทำให้ดูเป็นตัวอย่างได้

ประโยชน์ภูมิปัญญาต่อการเรียนรู้

วิธีการสานหวด

พื้นที่โรงเรียน

ตชด. บ้านเมืองทอง

กลุ่มสาระการเรียนรู้

กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี,

ภาพประกอบ

ผู้รวบรวม : ผศ.พฤษมงคล จุลพูล,น.ส.วันวิสา ทำมา,น.ส.ธิดารัตน์ ประทุมชัย,น.ส.ศิรภัสสร วรรณชัย วันที่รวบรวม : 2559-02-20




ข้อมูลปราชญ์


นายบุญเรียง พันพรม
บ้านนาเมืองทอง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

© 2016 | is.udru.ac.th All Right Reserved | สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี | login