กระด้ง

ความเป็นมาของภูมิปัญญา

เริ่มจากแต่ก่อนไม่มีการสานกระด้งขายเหมือนอย่างในปัจจุบันนี้ เลยเรียนรู้ที่จะสานกระด้ง มาใช้ในครัวเรือน เพื่อความสะดวกสบายในการใช้งาน โดยศึกษาวิธีการทำจากบิดาและมารดา

ขั้นตอน/วิธีทำ
 1.ตัดไม้ไผ่ ยาวประมาณ 2 เมตร
 2.จากนั้นนำไม้ไผ่มาเหลา ให้เป็นเส้นบางพอสมควรที่จะสานกระด้งได้
 3.แล้วนำมาวางเรียงกัน 8 เส้น นำไม้ไผ่มาสานกัน เป็นลายขัดกัน 2 เส้น จากนั้นก็สานต่อไปเรื่อยๆจนกว่าจะได้ตามขนาดที่เราต้องการ
 4.ไปเหลาไม้ไผ่มาดัดมาทำเป็นขอบกระด้ง
 5.นำขอบกระด้งมาประกอบกัน ใช้เวลาการทำ 1 อาทิตย์ ต่อ 1 อัน

วัสดุ/อุปกรณ์
 - ไม้ไผ่ (อายุ 2-3 ปี)
 - หวาย
 - เข็มเย็บกระสอบ
 - มีดโต้
 - มีดเหลาตอก
 - ผ้าพันมือ
 - ไม้ทาบ
 - เลื่อย

การเรียนรู้
เรียนรู้จากบิดาและมารดา โดยเริ่มสังเกต สอบถาม และลงมือปฏิบัติ ใช้เวลาในการเรียนรู้เพียง 5 วัน ภูมิปัญญานี้มีคุณค่าในเรื่องการที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ และสืบทอดให้ลูกหลานต่อไปได้

การถ่ายทอด
ถ่ายทอดให้กับลูก โดยสามารถฝึกสอนทำให้ดูเป็นตัวอย่างได้

ประโยชน์ภูมิปัญญาต่อการเรียนรู้

วิธีการสานกระด้ง

พื้นที่โรงเรียน

ตชด. บ้านเมืองทอง

กลุ่มสาระการเรียนรู้

กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี,

ภาพประกอบ

ผู้รวบรวม : ผศ.พฤษมงคล จุลพูล,น.ส.วันวิสา ทำมา,น.ส.ธิดารัตน์ ประทุมชัย,น.ส.ศิรภัสสร วรรณชัย วันที่รวบรวม : 2559-02-20




ข้อมูลปราชญ์


นายจำปา สุนนท์
บ้านนาเมืองทอง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

© 2016 | is.udru.ac.th All Right Reserved | สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี | login