ตะกร้า

ความเป็นมาของภูมิปัญญา

ในหมู่บ้านมีไม้ไผ่ที่เกิดขึ้นมากมายในธรรมชาติ จึงเกิดความคิดที่จะเอาไม้ไม้มาสานเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในครอบครัว อีกทั้งตนเองก็มีพื้นฐานในการสานไม้ไผ่อยู่แล้ว

ขั้นตอน/วิธีทำ
 1.นำไม้ไผ่มาตัด
 2.ตัดไม้ไผ่แก่มาผ่าซีกและผ่าแบ่งเป็นเสี้ยวเล็กๆ ขนาดประมาณ 1 ซม. และอีกส่วนหนึ่งผ่าประมาณ 1 นิ้ว เพื่อใช้ทำขอบปากตะกร้าและมือจับ
 3.ใช้มีดขูดเหลาตอก
 4.นำไปตากแดด 1 วัน
 5.เริ่มต้นสานตะกร้าจากก้นตะกร้าขึ้นไปข้างบน สานข่อตอกข้างละ 15 เส้น เศษ 1 สานขึ้นลายขัด หักมุมด้วยหัวเข่า สานได้พอสมควรที่ต้องการแล้วม้วนปากเก็บข้างในสอดเข้าหากัน
 6.ทำหูตะกร้า เอาเชือกในร่อนมามัดยึดติดกับตะกร้า ใช้เวลาการทำ 2 วัน

วัสดุ/อุปกรณ์
 -ไม้ไผ่ (อายุ 1-2 ปี)
 -เข็มเย็บกระสอบ
 -มีดโต้
 -มีดเหลาตอก
 -ผ้าพันมือ
 -เชือกเขียวในร่อน
 -เลื่อย

การเรียนรู้
เรียนรู้จากบิดา โดยเริ่มสังเกต สอบถาม และลงมือปฏิบัติ ใช้เวลาในการเรียนรู้เพียง 3 วัน ภูมิปัญญานี้มีคุณค่าในเรื่องการที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ และสืบทอดให้ลูกหลานต่อไปได้

การถ่ายทอด
ถ่ายทอดให้กับลูก โดยสามารถฝึกสอนทำให้ดูเป็นตัวอย่างได้

ประโยชน์ภูมิปัญญาต่อการเรียนรู้

วิธีการสานตะกร้า

พื้นที่โรงเรียน

ตชด. บ้านเมืองทอง

กลุ่มสาระการเรียนรู้

กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี,

ภาพประกอบ

ผู้รวบรวม : ผศ.พฤษมงคล จุลพูล,น.ส.วันวิสา ทำมา,น.ส.ธิดารัตน์ ประทุมชัย, วันที่รวบรวม : 2559-02-20




ข้อมูลปราชญ์


นายหา ชาหล่อน
บ้านนาเมืองทอง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

© 2016 | is.udru.ac.th All Right Reserved | สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี | login