กระด้ง

ความเป็นมาของภูมิปัญญา

แต่ก่อนทำอาชีพเลี้ยงม่อน ต้องใช้ค่าใช้จ่ายมากในการซื้อม่อนมาปลูก จึงเริ่มมีความคิดว่าจะทำอย่างไรให้ได้รายได้เสริมที่ดีกว่าประกอบกับในหมู่บ้านมีวัตถุดิบมากมายหาได้ง่าย จึงคิดที่จะสานกระด้งที่ตนเองพอมีพื้นฐานอยู่บ้างมาเป็นอาชีพเสริม และทำกระด้งมาจนถึงปัจจุบันนี้

ขั้นตอน/วิธีทำ
 1.นำไม้ไผ่มาตัด
 2.ใช้มีดขูดเหลาตอก
 3.นำไปตากแดด 2-3 วัน
 4.นำไปโลมควันเพื่อไม่ให้แมลงกัด
 5.เริ่มก่อก้นจำนวนเส้นที่ใช้ก่ออาจเป็นเส้นคู่หรือคี่ เช่น 26 เส้น, 27 เส้น
 6.สานขึ้นรูป การสานขึ้นรูปปกติทำกันอยู่สองลาย คือ ลายสองขัดดี และลายดอกจันทน์
 7.ตัดแต่งปาก ตัดปลายตอกให้เสมอกัน ก่อนใส่ขอบปาก
 8.เข้าขอบ แต่งให้กลมก่อนใช้หวายมามัดให้เรียบร้อย ใช้เวลาการทำ 2 วันต่อ 1 อัน

วัสดุ/อุปกรณ์
 -ไม้ไผ่ (อายุ 2-3 ปี)
 -หวาย
 -เข็มเย็บกระสอบ
 -มีดโต้
 -มีดเหลาตอก
 -ผ้าพันมือ
 -เชือกในร่อน
 -เลื่อย

การเรียนรู้
เรียนรู้จากบรรพบุรุษสืบทอดต่อกันมา โดยเริ่มสังเกต จดจำ และลงมือปฏิบัติ ใช้เวลาในการเรียนรู้เพียง 1 วัน ภูมิปัญญานี้มีคุณค่าในเรื่องการที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ และสืบทอดให้ลูกหลานต่อไปได้

การถ่ายทอด
ถ่ายทอดให้กับลูก โดยสามารถฝึกสอนทำให้ดูเป็นตัวอย่างได้

ประโยชน์ภูมิปัญญาต่อการเรียนรู้

วิธีการสานกระด้ง

พื้นที่โรงเรียน

ตชด. บ้านเมืองทอง

กลุ่มสาระการเรียนรู้

กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี,

ภาพประกอบ

ผู้รวบรวม : ผศ.พฤษมงคล จุลพูล,น.ส.วันวิสา ทำมา,น.ส.ธิดารัตน์ ประทุมชัย,น.ส.ศิรภัสสร วรรณชัย วันที่รวบรวม : 2559-02-20




ข้อมูลปราชญ์


นายหา ชาหล่อน
บ้านนาเมืองทอง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

© 2016 | is.udru.ac.th All Right Reserved | สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี | login