กระติ๊บข้าว

ความเป็นมาของภูมิปัญญา

เริ่มจากการว่างจากการทำการเกษตร จึงอยากมีรายได้เพิ่มและสังเกตเห็นคนในหมู่บ้านทำประกอบกับวัสดุที่ใช้ทำนั้นมีมากและหาได้ง่าย จึงได้ไปลองสังเกตพร้อมทั้งช่วยเป็นลูกมือเพื่อนบ้านก่อน แล้วจึงกลับมาลองผิดลองถูกด้วยตนเอง

ขั้นตอน/วิธีทำ
 1.เตรียมไม้ไผ่สำหรับการสานกระติบข้าวอายุประมาณ 4-5 เดือน
 2.เหลาไม้ไผ่ และขูดเสี้ยนไม้ออก
 3.ลงมือสานใช้ตอก 6 เส้น แล้วสานด้วยลายสอง โดยทิ้งชายตอกให้เหลือประมาณ 5 เซนติเมตร เมื่อสานได้ยาวจนชายตอกอีกด้านเหลือประมาณ 3 เซนติเมตร ให้นำชายทั้งสองข้างมาประกับกันโดยใช้ลายสอง และเมื่อนำมาประกบกันได้แล้วด้วยลายสอง ก็จะม้วนชายตอกที่ไม่ต้องการอีกทีด้วยการสานลายสองเวียนจากนั้นจึงม้วนเก็บชายตอกด้วยการพับครึ่งเข้าไปข้างในทั้งสองข้าง
 4.ส่วนก้นของกระติบข้าวนั้นจะสานเป็นแผ่นแบนสองอันมาประกบกันเข้าแล้วผูกติดกับส่วนตัวกระติบและใช้ด้ายเย็บ จากนั้นใช้ก้านตาลมาเหลาแล้วโค้งให้เป็นวงกลมเท่ากับขนาดของก้นกระติบข้าว
 5.ฝากระติบข้าวนั้นจะสานเช่นเดียวกับตัวกระติบเพียงแต่ให้ใหญ่กว่าเพื่อสวมครอบปิดเปิดได้ ใช้เวลาการทำ 1 วันต่อ 1 กล่อง

วัสดุ/อุปกรณ์
 - ไม้ไผ่บ้าน
 - ด้ายไนล่อน
 - เข็มเย็บผ้าขนาดใหญ่
 - กรรไกร
 - มีดโต้
 - เลื่อย
 - เหล็กหมาด (เหล็กแหลม)
 - ก้านตาล
 - เครื่องขูดตอก
 - เครื่องกรอด้าย

การเรียนรู้
เรียนรู้จากคนในหมู่บ้าน โดยสังเกตคนในหมู่บ้านและทดลองปฏิบัติ ลองผิดลองถูกด้วยตนเอง ใช้เวลาในการเรียนรู้เพียง 1 วัน ภูมิปัญญานี้มีคุณค่าในด้านการอนุรักษ์ภูมิปัญญา และใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในหมู่บ้านให้เกิดประโยชน์

การถ่ายทอด
ถ่ายทอดให้กับบุคคลที่สนใจ สามารถบรรยาย และทำให้ดูเป็นตัวอย่าง

ประโยชน์ภูมิปัญญาต่อการเรียนรู้

วิธีการสานกระติ๊บข้าว

พื้นที่โรงเรียน

ตชด. บ้านเมืองทอง

กลุ่มสาระการเรียนรู้

กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี,

ภาพประกอบ

ผู้รวบรวม : ผศ.พฤษมงคล จุลพูล,น.ส.สุปรียา วิจิตรไพโรจน์,น.ส.สุรีมาศ จันทาวัน,น.ส.สุธิตา สีหาดี วันที่รวบรวม : 2559-02-20




ข้อมูลปราชญ์


นางสมบัติ เครือศรี
บ้านนาเมืองทอง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

© 2016 | is.udru.ac.th All Right Reserved | สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี | login