เพาะเลี้ยงปลาผสมผสาน

ความเป็นมาของภูมิปัญญา

ชาวบ้านส่วนใหญ่เพาะเลี้ยงแต่ปลาดุกกันเป็นจำนวนมาก ทำให้นายหมั่นเกิดความคิดที่แตกต่างออกไปว่าถ้าเพาะเลี้ยงปลาผสมผสานอาจจะทำให้ได้รายได้มากกว่า เพราะมีปลาที่หลากหลายขายและคนในหมู่บ้านทำอาชีพนี้น้อยอีกทั้งนายหมั่นมีที่ดินเหลืออยู่ ก็เลยต้องการจะสร้างบ่อปลาเพิ่มเพื่อขยายพื้นที่ทำมาหากิน

ขั้นตอน/วิธีทำ
 1.ขุดบ่อดินเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
 2.ทำความสะอาดบ่อ กำจัดวัชพืช ออกให้หมด เต็มน้ำใส่บ่อในปริมาณที่พอเหมาะจากนั้นทิ้งไว้ 7 วัน
 3.ทำการซื้อและคัดเลือกพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ที่ดี ประกอบด้วย ปลานิล ปลาตะเพียน ปลาจาระเม็ด
 4.นำพันธุ์ปลาที่ซื้อมาไปพักไว้ที่บ่อพักปลา โดยบ่อพักปลาทำจากตาข่าย บรรจุปลาลงไปในนั้น เพื่อให้ปลาปรับสภาพให้ชินกับน้ำ
 5.ขณะที่อยู่ในบ่อพักก็ให้หัวอาหารปลาวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น
 6.ประมาณ 2 อาทิตย์ ทำการลอกตาข่ายที่บ่อพักปลาออก เพื่อปล่อยปลาลงไปในบ่อ
 7.เมื่อปลาเจริญเติบโตก็เปลี่ยนเป็นให้หัวอาหารน้อยลง วันละครั้งในช่วงตอนเย็น แต่จะให้อาหารเสริมตาม ธรรมชาติ เช่น ให้ผักเป็นอาหาร
 8.ประมาณ 3 – 4 เดือนก็สามารถนำไปขายได้ ใช้เวลาในการทำ 1 อาทิตย์

วัสดุ/อุปกรณ์
 - พันธุ์ปลา
 - บ่อดิน กว้าง 30 ยาว 50 เมตร
 - หัวอาหาร
 - ตาข่าย

การเรียนรู้
เรียนรู้จากการไปศึกษาดูงาน อบรมการเพาะเลี้ยงปลาผสมผสาน และนำมาปฏิบัติเอง ใช้เวลาเรียนรู้ 1 อาทิตย์ การเรียนรู้ภูมิปัญญานี้สามารถเพิ่มรายได้ค่อนข้างดี และประหยัดค่าใช้จ่ายในครอบครัว

การถ่ายทอด
มีการถ่ายทอดให้กับลูกชาย ลูกสาว และหลาน โดยสามารถอธิบายวิธีการ ขั้นตอน และทำให้ดูเป็นตัวอย่าง โดยการพาไปช่วยงานทุกครั้งตั้งแต่เริ่มปฏิบัติการเพาะเลี้ยงปลาผสมผสาน เพื่อจะได้ถ่ายทอดให้กับรุ่นต่อๆไป

ประโยชน์ภูมิปัญญาต่อการเรียนรู้

วิธีการเพาะเลี้ยงปลาผสมผสาน และการทำเกษตรแบบพอเพียง

พื้นที่โรงเรียน

ตชด. บ้านเมืองทอง

กลุ่มสาระการเรียนรู้

กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี,

ภาพประกอบ

ผู้รวบรวม : ผศ.พฤษมงคล จุลพูล,น.ส.วารุณี ไชยคำจันทร์,น.ส.จริยา พาศิริ,น.ส.กอแก้ว เพชรเกตุ วันที่รวบรวม : 2559-02-20




ข้อมูลปราชญ์


นายหมั่น บุตรน้อย
บ้านนาเมืองทอง

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

© 2016 | is.udru.ac.th All Right Reserved | สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี | login