หน่อไม้ปี๊บ

ความเป็นมาของภูมิปัญญา

พ่อแม่ทำสวนและปลูกมันสำปะหลังจากนั้นเกิดภาวะเศรษฐกิจทำให้ขาดทุน จึงหันมาปลูกไผ่ซึ่งปลูกง่าย ประหยัด ไม่ต้องดูแลมาก ซึ่งการปลูกไผ่รวกกำลังเป็นและที่ต้องการของตลาด เมื่อได้ผลิตมาทำให้บริโภคไม่ทัน จึงถนอมอาหารไว้รับประทานภายหลัง จากนั้นก็มีชาวบ้านและผู้ประกอบมาซื้อ

ขั้นตอน/วิธีทำ
 1.นำหน่อไม้สดมาเผา แล้วลอกเปลือกหน่อไม้ทิ้ง ตัดแต่งส่วนที่แข็งๆเหลือไว้เฉพาะส่วนที่กินได้
 2.ทำความสะอาดปี๊บ แล้วบรรจุหน่อไม้สลับหัวท้ายจนเต็มปี๊บ
 3.เทน้ำใส่ปี๊บให้ท่วมหน่อไม้ แล้วนำไปต้ม รอจนฟองของหน่อไม้หมดก็เติมน้ำลงไปอีกครั้ง ทิ้งไว้ 30 นาที
 4.ยกปี๊บลงปิดฝาให้สนิทในขณะที่ปี๊บยังร้อนอยู่ เพื่อไม่ให้อากาศเข้า
 5.เมื่อทำเสร็จสามารถเก็บไว้ได้นานทที่สุดแค่ 1 ปี ใช้เวลาในการทำ 1 ปี

วัสดุ/อุปกรณ์
 - หน่อไม้
 - ปี๊บ
 - น้ำ
 - มีด
 - กะละมัง

การเรียนรู้

เรียนรู้มาจากพ่อแม่ โดยวิธีการสังเกตและจดจำ และปฎิบัติ ใช้เวลาในการเรียนรู้เพียง 1 วัน การเรียนรู้ภูมิปัญญานี้ทำให้สร้างรายได้ เป็นการถนอมอาหาร และทำให้เอาไปทำอาหารได้หลายอย่าง

การถ่ายทอด
ถ่ายทอดให้ภรรยา และบุคคลที่สนใจ โดยการอธิบาย แนะนำ สังเกต และทำให้ดูเป็นตัวอย่าง

ประโยชน์ภูมิปัญญาต่อการเรียนรู้

วิธีการทำหน่อไม้ปี๊บ และการแปรรูปเป็นอาหาร

พื้นที่โรงเรียน

ตชด. บ้านห้วยเวียงงาม

กลุ่มสาระการเรียนรู้

กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี,

ภาพประกอบ

ผู้รวบรวม : ผศ.พฤษมงคล จุลพูล,น.ส.ปิยะนันท์ ใจรักษ์,น.ส.พันธิวา หัสเดชะ,นายณัฐวุฆิ ชำนาญศรี วันที่รวบรวม : 2559-02-06




ข้อมูลปราชญ์


นายณรงค์ชัย เวียงคำ
บ้านห้วยเวียงงาม

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

© 2016 | is.udru.ac.th All Right Reserved | สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี | login