บุญเดือน 10 บุญข้าวสาก

ความเป็นมาของภูมิปัญญา

เพื่อให้ชาวบ้านมีขวัญกำลังใจ มีความสุข สบายใจ และชาวบ้านมีความเชื่อว่าบูชาพระแม่ธรณีทำให้ที่นามีความอุดมสมบูรณ์ ปลูกข้าวได้ผลผลิต

วิธีการ/พิธีกรรม
ช่วงเวลาในการประกอบพิธีกรรมคือ ขึ้นแรม 15 ค่ำ เดือน 10 ชาวบ้านจะจัดเตรียมข่าวปลาอาหาร ผลไม้ต่างๆ เพื่อที่จะทำห่อข้าวน้อยและห่อข้าวใหญ่ มีขั้นตอนการทำดังนี้ ฉีกใบตองออกให้มีขนาดกว้างเท่าหนึ่งฝ่ามือ ส่วนความยาวนั้นให้ยาวสุดฉีกของใบกล้วย นำเอาข้าวเหนียวที่นึ่งสุกมาปั้นเป็นก้อนเล็กๆ ขนาดเท่าหัวแม่มือวางบนใบตองที่จะห่อ จากนั้นแกะเนื้อปลา ใส่ลงไปเล็กน้อย ประเภทนี้จัดเป็นอาหารคาว แล้วใส่ใบอ้อย กล้วยสุก มะละกอ ส้มโอ ข้าวต้มมัด จากนั้นใส่หมาก 1 คำ บุหรี่ 1 มวน เมี่ยง 1 คำ แล้วห่อใบตองเข้าหากัน โดยใช้ไม้กลัดหัวท้าย และตรงกลางก็จะห่อข้าวประดับดิน พอถึงตอนเช้า ขึ้นแรม 15 ค่ำ เดือน 10 ชาวบ้านจะพากันนำอาหารคาวหวานต่างๆ ไปทำบุญตักบาตรที่วัดโดยพร้อมเพรียงกัน ถวายพระสงฆ์ที่วัด และห่อข้าวน้อยและห่อข้าวใหญ่ไปวางไว้ตามรั่วบ้านหรือกำแพงวัด จุดธูป 1 ดอก กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้ญาติมิตรผู้ล่วงลับไปแล้ว ต่อจากนั้นก็กลับบ้านแล้วอีกส่วนหนึ่งห่อข้าวน้อยและห่อข้าวใหญ่ไปวางตามไร่นาของตนเอง เพื่อให้เจ้าที่เจ้าทางเพื่อให้ข้าวในนามีความเจริญงอกงาม

ความเชื่อ
เพื่อให้ญาติของตนเองได้กินข้าว หรือได้รับบุญที่เราทำไปให้ ทำให้ข้าวปลามีความอุดมสมบูรณ์

การเรียนรู้
เรียนรู้จากพ่อแม่ และคนในหมู่บ้าน ที่ได้ทำมาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยการปฏิบัติจริง ตามคำที่พ่อแม่สอน ใช้เวลาในการเรียนรู้ตั้งแต่ยังเด็ก การเรียนรู้ภูมิปัญญานี้ทำให้ได้ทราบถึงประเพณีของชาวอีสานที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ

การถ่ายทอด

ถ่ายถอดให้กับชาวบ้าน และลูกหลาน โดยการปฏิบัติให้ดู

ประโยชน์ภูมิปัญญาต่อการเรียนรู้

การอนุรักษ์และสืบสานประเพณี ฮีตสิบสองคองสิบสี่

พื้นที่โรงเรียน

ตชด. บ้านห้วยเวียงงาม

กลุ่มสาระการเรียนรู้

กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม,

ภาพประกอบ

ผู้รวบรวม : ผศ.พฤษมงคล จุลพูล,น.ส.ศิริกุล สารสม,น.ส.ขวัญชนก เอี่ยมศิริ,น.ส.ชญานิศฐ์ คงทัน วันที่รวบรวม : 2559-02-06




ข้อมูลปราชญ์


นายบุญไหล สาพร
บ้านห้วยเวียงงาม

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

© 2016 | is.udru.ac.th All Right Reserved | สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี | login