บุญเดือน 7 บุญเบิกบ้าน

ความเป็นมาของภูมิปัญญา

ในหมู่บ้านมีคนตายเรียงวัน 3 ศพ คนในหมู่บ้านจึงไม่สบายใจจึง จึงปรึกษาหารือกันกันว่าให้ทำบุญบ้านเพื่อทำพิธีปัดรังควาน ขับไล่สิ่งที่ไม่ดีออกจากหมู่บ้าน เพื่อให้ชาวบ้านมีขวัญและกำลังใจให้ชาวบ้านอยู่เย็นเป็นสุข

วิธีการ/พิธีกรรม
ช่วงเวลาในการประกอบพิธีกรรมไม่มีกำหนดแต่ภายในเดือน 7 วันเสาร์แรกของเดือน ก่อนวันทำพิธีจัดเตรียมสถานที่ ทำความสะอาดศาลากลางหมู่บ้าน เพื่อทำพิธีบุญเบิกบ้าน ทุกครัวเรือนทำกระทงหน้าวัว (กระทงสามเหลี่ยม) บ้านละ 1 หลัง ใส่ธูป เทียน ข้าวดำ ข้าวแดง อาหารหวานคาว พริก เกลือ เพื่อที่จะเอาไปวางไว้รอบหมู่บ้าน และขึงดึงด้ายมงคลทุกครัวเรือน จนครบทุกหลังคาเรือนพอถึงวันบุญเบิกบ้านไปนิมนต์มาตอนเช้าเพื่อทำบุญตักบาตร ทำอาหารถวายพระสงฆ์ พระสงฆ์ประพรมน้ำมนต์เพื่อปัดเปาสิ่งที่ไม่ดีออกจากตัว สุขภาพแข็งแรง ความก้าวหน้าของชีวิต ในตอนเย็นนิมนต์พระมาเจริญพระพุทธมนต์ ประชาสัมพันธ์ให้ชาวบ้านเอากรวดทรายหรือหินลูกรัง และกระทงหน้าวัว มารวมกันที่ศาลากลางบ้านทุกครัวเรือนเพื่อให้พระสงฆ์สวด พระสงฆ์สวดเสร็จก็นำเอากรวดทรายหรือหินลูกรัง ไปหว่านรอบหมู่บ้าน และทำพิธีเอากระทงไปวางไว้รอบหมู่บ้านทั้ง 4 ทิศ เพื่อนำสิ่งที่ไม่ดีออกจากหมู่บ้าน

ความเชื่อ
เพื่อไล่ผีป้องกันผีและความเสนียดจัญไรไม่ให้เกิดกับหมู่บ้าน

การเรียนรู้
เรียนรู้จากพ่อแม่ และคนในหมู่บ้าน โดยการปฏิบัติจริง ตามคำที่พ่อแม่สอน ใช้เวลาในการเรียนรู้ตั้งแต่ยังเด็ก การเรียนรู้ภูมิปัญญานี้ทำให้ได้ทราบถึงประเพณีของชาวอีสานที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ

การถ่ายทอด

ถ่ายถอดให้กับชาวบ้าน และลูกหลาน โดยการปฏิบัติให้ดู

ประโยชน์ภูมิปัญญาต่อการเรียนรู้

การอนุรักษ์และสืบสานประเพณี ฮีตสิบสองคองสิบสี่

พื้นที่โรงเรียน

ตชด. บ้านห้วยเวียงงาม

กลุ่มสาระการเรียนรู้

กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม,

ภาพประกอบ

ผู้รวบรวม : ผศ.พฤษมงคล จุลพูล,น.ส.ศิริกุล สารสม,น.ส.ขวัญชนก เอี่ยมศิริ,น.ส.ชญานิศฐ์ คงทัน วันที่รวบรวม : 2559-02-06




ข้อมูลปราชญ์


นายบุญไหล สาพร
บ้านห้วยเวียงงาม

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

© 2016 | is.udru.ac.th All Right Reserved | สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี | login