เดือน 10 บุญข้าวสาก

ความเป็นมาของภูมิปัญญา

เริ่มทำตามประเพณีของบรรพบุรุษที่ได้ทำมาตั้งแต่สมัยโบราณ รู้สึกดี จิตใจสงบ เป็นมงคลแก่ตนเอง ครอบครัว และญาติพี่น้อง

วิธีการ/พิธีกรรม
ช่วงเวลาในการประกอบพิธี ช่วงเดือนตุลาคม (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 ของทุกปี)
 - วันเตรียมข้าวสาก วันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 10 ข้าวสาก คือการเอาข้าวเม่าพอง คลุกกับข้าวตอกแตก แล้วใส่น้ำอ้อย น้ำตาล ถั่ว งา แล้วคลุกเข้าด้วยกัน และชาวบ้านจะเตรียมข้าวต้ม ขนม อาหารคาวหวาน หมาก พลู และบุหรี่ไว้ทำทาน
 - ในตอนเช้าของวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 ชาวบ้านจะนำอาหารไปตักบาตรอุทิศส่วนกุศลให้ญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว หลังจากพระสงฆ์ฉันจังหันเสร็จแล้วมีการฟังเทศน์
 - พอถึงตอนเพลจะเป็นพิธีแจกข้าวสาก ข้าวสากที่จะนำไปแจกนั้น จะห่อด้วยใบตองกล้วยกลัดหัวกลัดท้ายมีรูปคล้ายกลีบข้าวต้มแต่ไม่พับส้นตอง เย็บติดกันเป็นคู่ๆ ของที่ใส่ในห่อได้แก่ ข้าวต้ม ข้าวสาก ปลา เนื้อ หมาก พลู และบุหรี่ ส่วนการแจกก็เอาห้อยไว้ตามต้นไม้หรือตามรั้ว

ความเชื่อ
 - เพื่อความสบายใจและเป็นสิริมงคล
 - มีความเชื่อด้านประเพณีต่างๆ

การเรียนรู้
เรียนรู้จากจากตำรา หนังสือ พระสงฆ์ที่วัด และจากการปฏิบัติ ใช้เวลาเรียนรู้ตั้งแต่ตอนเด็ก การเรียนรู้ภูมิปัญญานี้ทำให้ได้รู้จักประเพณีของไทยที่สืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ

การถ่ายทอด
ถ่ายทอดให้กับลูกหลานและคนในครอบครัว โดยปฏิบัติเป็นแบบอย่างให้แก่ลูกหลานได้สืบทอดต่อไปในอนาคต

ประโยชน์ภูมิปัญญาต่อการเรียนรู้

การอนุรักษ์และสืบสานประเพณี ฮีตสิบสองคองสิบสี่

พื้นที่โรงเรียน

ตชด. บ้านห้วยเวียงงาม

กลุ่มสาระการเรียนรู้

กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม,

ภาพประกอบ

ผู้รวบรวม : ผศ.พฤษมงคล จุลพูล,น.ส.ทักษพร ไชยนาม,น.ส.ศิริพร วระวงศ์,น.ส.ภารดี ศรีบัวน้อย วันที่รวบรวม : 2559-02-06




ข้อมูลปราชญ์


นางบุณเส็ง ทองเมือง
บ้านห้วยเวียงงาม

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

© 2016 | is.udru.ac.th All Right Reserved | สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี | login