เดือน 8 บุญเข้าพรรษา

ความเป็นมาของภูมิปัญญา

การจำพรรษาของพระภิกษุมีมาตั้งแต่สมัยพระพุทธกาล แต่ก่อนหน้าที่จะมีการจำพรรษา สมัยก่อนโลกยังไม่เจริญการไปไหนมาไหนต้องเดินทางด้วยเท้า เส้นทางเดินยังไปมาไม่สะดวก เวลาพระภิกษุจะเดินทางไปโปรดญาติโยม หรือทำภารกิจใดๆ ก็ต้องเดินลัดทุ่งนาของชาวบ้านในฤดูกาล การทำนา ทำให้นาข้าวของชาวบ้านเสียหาย จึงให้พระสงฆ์จำพรรษาอยู่ในวัดแห่งเดียวไม่ให้ออกนอกวัดภายในระยะเวลา 3 เดือน

วิธีการ/พิธีกรรม
ช่วงเวลาในการประกอบพิธีวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี ก่อนวันเข้าพรรษาชาวบ้านปรึกษาหารือกันเพื่อจัดเตรียมการทำต้นเงินต้นทองไปวัด เมื่อถึงวันเข้าพรรษา ก็จะทำบุญตักบาตรเป็นกรณีพิเศษ เช่นถวายสังฆทาน ถวายผ้าอาบน้ำฝน ถวายดอกไม้ธูปเทียน จตุปัจจัยไทยธรรม และผู้มีศรัทธาแก่กล้าจะทำการเข้าพรรษาด้วยคือ การงดเว้นจากอบายมุข สิ่งเสพติด สุราเมรัย ไม่เกี่ยวข้องกับอบายมุขต่างๆ ตลอดระยะเวลา 3 เดือน ของการเข้าพรรษา เวลาประมาณ 19.30 น. ชาวบ้านไปเวียนเทียนที่วัด ฟังเทศ

ความเชื่อ
 - เพื่อความสบายใจและเป็นสิริมงคล
 - มีความเชื่อด้านประเพณีต่างๆ

การเรียนรู้
เรียนรู้จากจากตำรา หนังสือ พระสงฆ์ที่วัด และจากการปฏิบัติ ใช้เวลาเรียนรู้ตั้งแต่ตอนเด็ก การเรียนรู้ภูมิปัญญานี้ทำให้ได้รู้จักประเพณีของไทยที่สืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ

การถ่ายทอด
ถ่ายทอดให้กับลูกหลานและคนในครอบครัว โดยปฏิบัติเป็นแบบอย่างให้แก่ลูกหลานได้สืบทอดต่อไปในอนาคต

ประโยชน์ภูมิปัญญาต่อการเรียนรู้

การอนุรักษ์และสืบสานประเพณี ฮีตสิบสองคองสิบสี่

พื้นที่โรงเรียน

ตชด. บ้านห้วยเวียงงาม

กลุ่มสาระการเรียนรู้

กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม,

ภาพประกอบ

ผู้รวบรวม : ผศ.พฤษมงคล จุลพูล,น.ส.ทักษพร ไชยนาม,น.ส.ศิริพร วระวงศ์,น.ส.ภารดี ศรีบัวน้อย วันที่รวบรวม : 2559-02-06




ข้อมูลปราชญ์


นางบุณเส็ง ทองเมือง
บ้านห้วยเวียงงาม

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

© 2016 | is.udru.ac.th All Right Reserved | สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี | login