หมอลำ

ความเป็นมาของภูมิปัญญา

มีความชอบในเสียงดนตรี จึงให้ครูสอนที่โรงเรียนตอนอยู่ชั้นประถมศึกษาปี ทำการฝึกฝนกับให้อยู่ 2 เดือน หลังจากนั้นก็มาฝึกฝนเองอยู่ที่บ้านของตน

ขั้นตอน/วิธีทำ/การฝึกฝน
นำการขึ้น การโอ๋ การสร้อย การฝึกลูกคอ การเอื้อนเสียง ฝึกร้องในห้องทึบ หรือฝึกร้องโดยการเอาหัวลงไปในโอ่งแล้วก็ฝึกใช้เสียงหรือกำหนดเสียงของตนเอง ว่าเสียงตัวเองเพี้ยนหรือไม่เพี้ยน ถ้าเพี้ยนก็ฝึกต่อไป ในการขึ้น การโอ๋ การสสร้อย หรือร้องหมอลำ ต้องทานอาหารที่ทำให้รักษาเสียง เช่น ดื่มน้ำเยอะๆ กินกล้วย ออกกำลังอย่างสม่ำเสมอ และต้องฝึกร้องทุกวัน ใช้เวลาฝึกฝนการร้องหมอลำ 3 เดือนโดยการให้ครูที่โรงเรียนสอน และฝึกฝนเอง 1 ปี โดยการฟังวิทยุ โทรทัศน์

วัสดุ/อุปกรณ์
โอ่ง ในการใช้ฝึกฝนการใช้เสียง หรือการเอื้อนลูกคอ

การเรียนรู้
เรียนรู้โดยตัวเอง และครูสอน ใช้วิธีสังเกตฟังจากวิทยุ และดูจากโทรทัศน์ โดยใช้เวลาเรียนรู้ 15 ปี สามารถช่วยให้ผ่อนคลาย ได้ทำในสิ่งที่ตัวเองชอบ ทำให้คนอื่นมีความสุข

การถ่ายทอด
ถ่ายทอดให้กับบุคคลที่สนใจในเรื่องหมอลำ โดยการร้องหมอลำให้ฟัง และแนะนำเทคนิควิธีการต่างๆให้

ประโยชน์ภูมิปัญญาต่อการเรียนรู้

วิธีการร้องหมอลำ การแสดงออก และการอ่าน

พื้นที่โรงเรียน

ตชด. บ้านห้วยเวียงงาม

กลุ่มสาระการเรียนรู้

กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ,

ภาพประกอบ

ผู้รวบรวม : ผศ.พฤษมงคล จุลพูล,น.ส.ทักษพร ไชยนาม,น.ส.ศิริพร วระวงศ์,น.ส.ภารดี ศรีบัวน้อย วันที่รวบรวม : 2559-02-07




ข้อมูลปราชญ์


นายไพโรจน์ เนตรแสง
บ้านห้วยเวียงงาม

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

© 2016 | is.udru.ac.th All Right Reserved | สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี | login