เงินออม ซีซีเอฟ

ความเป็นมาของภูมิปัญญา

ริเริ่มโดย นางจิราภรณ์ เหี้ยมเหิน เพราะเห็นว่ากองทุนนี้สามารถยกระดับคุณภาพของบุคคลในชุมชนได้ทำให้เด็กในชุมชนได้รู้จักการออมเงิน เริ่มแรกมีแต่เด็กเป็นสมาชิกแต่ปัจจุบันผู้ปกครองของเด็กเกิดความสนใจและสมัครเป็นสมาชิกด้วย โดยได้รับการสนับสนุนเงินในการจัดตั้งครั้งแรก จำนวน 100,000 บาท ทำให้มีเงินมาหมุนเวียนในหมู่บ้าน จึงเป็นกองทุนเงินออมของชุมชน มีการแบ่งปันผลดอกเบี้ยคืนแก่สมาชิก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพของครอบครัวเด็กและชุมชน ให้สามารถดูแลและคุ้มครองเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วิธีดำเนินการจัดตั้ง
มีการจัดประชุมกลุ่มกองทุนของหมู่บ้าน โดยให้ประธานจากทุกกองทุนออกความเห็น

กฎระเบียบข้อปฏิบัติ
เก็บเงินออมเดือนละ 120 บาท ถ้าหากไม่มีการส่งเงินออมตามระยะเวลาที่กำหนด จะมีการปรับตามความเหมาะสม โดยมีคณะกรรมการมีทั้งหมดคน 3 คน และจำนวนสมาชิก 134 คน

สมาชิก/ชาวบ้านได้รับประโยชน์
 - ทำให้ชาวบ้านมีเงินหมุนเวียนใช้ในชีวิตประจำวัน
 - มีการผ่อนจ่ายน้อยกว่าเงินกู้

ประโยชน์ภูมิปัญญาต่อการเรียนรู้

ระบบสหกรณ์ การจัดทำบัญชี การปันผลเฉลี่ยคืน

พื้นที่โรงเรียน

ตชด. บ้านห้วยเวียงงาม

กลุ่มสาระการเรียนรู้

กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์,

ภาพประกอบ

ผู้รวบรวม : ผศ. พฤษมงคล จุลพูล น.ส.วารุณี ไชยคำจันทร์,น.ส.กอแก้ว เพชรเกตุ,น.ส.จริยา พาศิริ วันที่รวบรวม : 2559-02-06




ข้อมูลปราชญ์


นางจิราภรณ์ เหี้ยมเหิน
บ้านห้วยเวียงงาม

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

© 2016 | is.udru.ac.th All Right Reserved | สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี | login