ฝายชะลอน้ำ

ความเป็นมาของภูมิปัญญา

ทำการเกษตรเป็นประจำ เวลาฝนตกมักจะมีน้ำไหลมาจากบนภูเขา จึงคิดว่าต้องการใช้ประโยชน์จากน้ำ เลยทำฝายกั้นน้ำกักเก็บน้ำไว้ใช้ในการเกษตร เพื่อให้พันธุ์ไม้ต่างๆมีความอุดมสมบูรณ์ไปด้วย

ขั้นตอน/วิธีการ
 1.เตรียมพื้นที่ ปรับพื้นที่ เพื่อที่จะทำฝายกั้นน้ำ
 2.นำท่อนไม้ที่มีความแข็งแรงๆ มาประมาณ 100 ลำ แล้วตอกท่อนไม้ให้เรียงกันให้แน่น ความลึกประมาณ 30-50 เซนติเมตร เพื่อเป็นที่ยึดกระสอบฝางไม่ให้ไหลไปกับน้ำ
 3.นำกระสอบฝางไปบรรจุดินทราย ประมาณเกินครึ่งของกระสอบ แล้วก็ใช้เครือย่านางหรือวัสดุที่มีความเหนียว มัด 2-3 รอบกระสอบฝาง
 4.นำกระสอบฝางที่ใส่ดินทรายแล้วมาวางเรียงสลับกันประมาน 30 กระสอบ หรือมากกว่า 30 กระสอบ เพื่อที่จะให้กระสอบฝางนั้นพ้นจากน้ำ
 5.พอเรียงกระสอบฝางเสร็จแล้ว ให้ขึ้นไปเหยียบบนกระสอบฝาง เพื่อที่จะให้กระสอบฝางนั้นมีความแน่นมากพอที่จะไม่ให้กระสอบฝางนั้นถูกกระแสน้ำพัดพาไปได้ ใช้เวลาในการทำ 8-10 ชั่วโมง

วัสดุ/อุปกรณ์
 - กระสอบฝาง
 - ดินทราย
 - ท่อนไม้
 - เครือย่านางหรือวัสดุที่มีความเหนียว
 - จอบ
 - เสียม

ความเชื่อ
 - ช่วยลดการชะล้าง พังทลายของดินและลดความรุนแรงของกระแสน้ำที่ไหลมาจากบนภูเขา
 - ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่พืชผักชนิดต่างๆ ตลอดจนสามารถนำไปใช้ในการเกษตรได้

การเรียนรู้
เป็นโครงการตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรียนรู้จากการสังเกต หนังสือ และนำมาปฏิบัติ ใช้เวลาในการเรียนรู้ 1 อาทิตย์ ทำให้สามารถชะลอความแรงของน้ำหลาก ช่วยลดการกัดเซาะของตลิ่งลำน้ำ

การถ่ายทอด
ถ่ายทอดให้ลูกหลาน ญาติพี่น้อง ชาวบ้าน โดยการบรรยาย ปฏิบัติ

ประโยชน์ภูมิปัญญาต่อการเรียนรู้

การทำฝายชะลอน้ำ และการอนุรักษ์แหล่งน้ำและทรัพยากรธรรมชาติ

พื้นที่โรงเรียน

ตชด. บ้านห้วยเวียงงาม

กลุ่มสาระการเรียนรู้

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์,

ภาพประกอบ

ผู้รวบรวม : ผศ.พฤษมงคล จุลพูล,น.ส.ชลธิชา ชัยภูมี,น.ส.ขวัญชนก ขันธวิชัย,น.ส.ปาริสา พาพินิจ วันที่รวบรวม : 2559-02-06




ข้อมูลปราชญ์


นายทองพูน ทองเมือง
บ้านห้วยเวียงงาม

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

© 2016 | is.udru.ac.th All Right Reserved | สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี | login